Members

สตีเฟน ฮอว์คิง : ประวัติย่อของกาลเวลา...อนุภาคที่มีวิถีชีวิตของมันเอง ...สู่ความหวัง สู่ฝันมีชีวิต

นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง มีงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ โดยที่ร่างกายขยับตัวไม่ได้ เขาคือ สตีเฟน ฮอว์คิง (Steven Hawking) ... วินทร์ เลียววาริณ ทำให้เราได้รู้จักเขามากขึ้น จากงานเขียน "อนุภาคที่มีวิถีชีวิตของมันเอง" ในหนังสือ "ความฝันโง่ ๆ" ซึ่งเป็นความฝันโง่ ๆ ของสตีเว่น ฮอว์คิง


วินทร์ เลียววาริณ. ความฝันโง่ ๆ. กรุงเทพฯ: 113, 2549

หมอบอกว่า เขาจะอยู่ได้อีกไม่เกินสองสามปี

เขา อายุยี่สิบเอ็ด เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี 1963 เขาล้มลงและไม่สามารถขยับเขยื้อนกายได้ หมอบอกว่า เขาเป็นโรค Amyotrophic Lateral Sclerosis (หรือ ALS) ระบบประสาทของเขาไม่สามารถสั่งการอวัยวะส่วนต่าง ๆ ให้ทำงานได้ ร่างกายของเขาจะสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวทีละน้อย จนเป็นอัมพาตถาวร

เขา ไม่ได้กลับบ้านไปนอนรอความตาย เขายังคงเรียนหนังสือต่อไป สำหรับคนทั่วไป การเรียนหนังสือสำหรับคนใกล้ตายถือเป็นความสูญเปล่า แต่นอกจากเขาจะเรียนต่อแล้ว เขายังแต่งงาน


(http://www.tamu-commerce.edu/physics/links/hawking2.jpg)

ชายหนุ่มคนนี้ชื่อ สตีเฟน ฮอว์คิง

เกิด ในยามสงครามที่ออซ์ฟอร์ด อังกฤษ สามร้อยปีหลังจากกาลิเลโอสิ้นชีพ ในช่วงสงคราม นาซีเยอรมันกับอังกฤษทำข้อตกลงว่า จะไม่ทิ้งระเบิดเมืองมหาวิทยาลัยของกันและกัน ออกซ์ฟอร์ดจึงมิได้รับผลกระทบของสงคราม

ตั้งแต่ เด็ก ฮอร์คิงชอบคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เขาเรียนได้คะแนนดีมาก สนใจเทอร์โมไดนามิกส์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ และควอนตัม ฟิสิกส์ ที่บอกว่า อนุภาคแต่ละตัวมีวิถีชีวิตของมันเอง และคาดเดาไม่ได้

ฮอว์ คิงไปเรียนต่อปริญญาเอกที่เคมบริดจ์ ด้านจักรวาลวิทยา อนาคตของเขาสดใสยิ่ง หากมิใช่เพราะโรคร้ายดังกล่าว ระหว่างที่เรียนเขาพบหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ เจน ไวลด์ สองปีต่อมาเขาก็ขอเธอแต่งงาน เขาถามเธอว่า จะพิจารณาแต่งงานกับคนที่มีอายุเหลือสามปีหรือไม่

เธอตกลง และบอกว่า "นี่เป็นยุคมืดแห่งปรมาณู เราต่างมีอายุขัยที่สั้น"

โรคร้ายทำลายร่างกายของเขาไปทีละน้อย แต่ไม่กระทบสมองของเขา ฮอว์คิงยังคงหายใจเข้าออกเป็นทฤษฎีต่า ๆ ทางจักรวาลวิทยา

แปด ปีหลังจากอาการของโรคร้ายแสดงออก ฮอว์คิงพบเพื่อนใหม่ชื่อ รอเจอร์ เพนโรส นักคณิตศาสตร์ ทั้งสองเข้าทีมกัน คำนวณจากรากฐานที่ไอน์สไตน์วางไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพ ว่าจักรวาลน่าจะมีจุดเริ่มต้น บิ๊กแบงเกิดขึ้นจริง และเรื่องหลุมดำ

อาการ พิการค่อย ๆ หนักขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดเขาก็เป็นอัมพาตเกือบสิ้นเชิง สูญเสียระบบการพูด เขาใช้เสียงสังเคราะห์ไฟฟ้าในการสื่อสารกับคนอื่น เก้าอี้เข็นของเขาติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อกับเครื่องอ่านค่ากะพริบตาที่ติดในแว่นตาของเขา โดยการกะพริบตาและหดกล้ามเนื้อแก้ม เขาก็สามารถพูดได้ ทำการรีเสิร์ชข้อมูลต่าง ๆ อ่านหนังสือ ท่องอินเทอร์เน็ต เขียนอีเมล และเขียนหนังสือได้ ขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมประตู แสงสว่างในห้อง


(http://ebidiots.com/wp-content/uploads/2007/03/steven_hawking.jpg)

สตี เฟน ฮอว์คิง ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ Lucasian ด้านคณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ตำแหน่งที่เซอร์ ไอแซค นิวตัน เคยดำรงมาก่อน หนังสือเล่มแรกของเขา A Brief History of Time (1988) ขายดีจนเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่ลบล้างความคิดที่ว่า หนังสือวิชาการขายไม่ได้ในตลาดผู้อ่านทั่วไป หลังจากนั้นมีออกมาอีกหลายเล่มอย่างไม่น่าเชื่อว่าเป็นผลงานของคนพิการที่ เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้

สตีเฟน ฮอว์คิง ลบล้างคำของหมอที่ตัดสินชีวิตของเขาว่า จะอยู่ได้อีกไม่เกินสองสามปี เขาอยู่ต่อมาอีกหลายสิบปี

เขาบอกว่า เขาโชคดี เขาว่าตนเองคงไม่สามารถค้นพบสิ่งสำคัญในโลกฟิสิกส์มากเท่านี้ หากมิใช่เพราะการสนับสนุนของครอบครัว

บางทีทุกชีวิตมีทางดิ้นรนของมันเองเสมอ ขอเพียงอย่าเพิ่งสิ้นกำลังใจ
บางที ควอนตัม ฟิสิกส์ อาจจะถูก อนุภาคแต่ละตัวมีวิถีชีวิตของมันเอง และคาดเดาไม่ได้

ใน ฝั่งตะวันตกนั้น มโนภาพเกี่ยวกับจักรวาลของปโตเลมี นั้นมีอิทธิพลต่อผู้คนตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๒ - ๑๗ ไบเบิลและประวัติศาสตร์ยุโรปยุคกลางนั้นเต็มไปด้วยภูติผี ปีศาจ เทพเจ้า แม่มด สังคมถูกแบ่งเป็นลำดับชั้น เช่นเดียวกับลำดับชั้นของจักรวาล ที่ว่าด้วยโลกเป็นจุดศูนย์กลาง และมีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ล้อมรอบ พระเจ้านั้นอยู่ดินแดนเหนือโลก มนุษย์อยู่ตรงกลาง และสิ่งอื่นอยู่ใต้ดวงจันทร์

เมื่อ คอปเปอร์นิคุสประกาศในปีค.ศ. ๑๕๔๐ ว่าจักรวาลนั้นมีพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์อื่นล้อมรอบ ระยะห่างของสิ่งต่าง ๆ นั้นเกิดจากแรงดึงดูดระหว่างกัน ทุกสิ่งล้วนแต่สัมพันธ์ข้องเกี่ยวกัน ภาพของจักรวาลโดยคอปเปอร์นิคุสท้าทายอำนาจสูงสุดของศาสนจักร เขาถูกจับขังคุก และเสียชีวิตหลังจากนั้นสามปี

หนังสือ ของเขาถูกกำหนดให้เป็นหนังสือต้องห้ามจนถึงปีค.ศ. ๑๗๕๗ หลังจากนั้นคนเยอรมันก็บอกว่าคอปเปอร์นิคุสเป็นชาวเยอรมัน คนโปแลนด์ก็บอกว่าเขาเป็นชาวโปล

แล้วภาพของจักรวาลในยุคสมัยของเราเป็นอย่างไร? และจักอธิบายยุคสมัยของเราได้ดังที่เคยเป็นมาหรืือไม่?

จักรวาล นั้นมีขอบเขตสิ้นสุดหรือเปล่า อวกาศและเวลามีจุดเริ่มต้นอย่างไร เวลาเดินถอยหลังได้หรือไม่ จักรวาลเกิดจากบิ๊กแบงจริงหรือ กำลังขยายตัวหรือหดตัว และเราอยู่ส่วนไหนของจักรวาล สตีเฟน ฮอว์คิง ได้พยายามอธิบายแก่เราถึงคำตอบของคำถามเหล่านั้น ด้วยถ้อยคำง่าย ๆ แต่ชัดเจน เลี่ยงคำอธิบายในทางทฤษฎีที่ซับซ้อน และเปี่ยมด้วยอารมณ์ขัน

เนื้อหา หนังสือว่าด้วยฟิสิกส์ ที่มุ่งอธิบายตั้งแต่จักรวาลจนถึงอนุภาคเล็ก ๆ ฮอว์คิงสามารถทำให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย หนังสือทั้งเล่มมีสมการปรากฎอยู่เพียงสมการเดียวเท่านั้น แต่เขาสามารถอธิบายทฤษฎีและสมการอื่นได้ด้วยการเปรียบเทียบ ยกตัวอย่าง และแทรกเกร็ดประวัติความเป็นมาของทฤษฎีเหล่านั้น

รวม ทั้งการทำให้เรามองเห็นนักวิทยาศาสตร์ในฐานะมนุษย์ ที่มีโลภ โกรธ หลง เช่นเดียวกับมนุษย์อื่น มีความกระหายอยากรู้ และแข่งขันที่จะเป็นผู้ค้นพบหรือคิดค้นทฤษฎีใหม่เป็นคนแรก ทั้งนี้เขาได้กล่าวถึงด้วยเมตตาและเต็มไปด้วยอารมณ์ขันยิ่ง

หนังสือ เล่มนี้พิมพ์ครั้งแรกในปีค.ศ. ๑๙๘๘ และประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ติดอันดับหนังสือขายดีในซันเดย์ ไทมส์ ถึง ๒๓๗ สัปดาห์ติดต่อกัน ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นถึงสี่สิบภาษา ฉบับภาษาเยอรมันที่ข้าพเจ้าอ่านก็เป็นฉบับที่พิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่ ๑๒ แล้ว

จุด เด่นของหนังสือเห็นจะเป็นว่า เขียนด้วยภาษาง่าย ที่บุคคลทั่วไปไม่จำเป็นต้องเรียนฟิสิกส์ก็เข้าใจง่าย ผลจากแบบสอบถามหนึ่งแสดงให้เห็นว่า เรามักจะเชื่อว่านักวิทยาศาสตร์ที่เป็นนักฟิสิกส์หรือ นักฟิสิกส์ที่ได้รับรางวัลโนเบล จะฉลาดกว่านักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น แต่ความจริงแล้วน่าจะเป็นว่า นักฟิสิกส์ส่วนใหญ่ ขาดความสามารถ ที่จะสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลทั่วไป

จึง ทำให้ดูเหมือนว่าฟิสิกส์เป็นวิชาที่ยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจ หากขาดความฉลาดในขั้นอัจฉริยะ แต่หนังสือเล่มนี้ของฮอว์คิง ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับอำนาจในการเข้าถึงความรู้ ความรู้ของนักฟิสิกส์มิได้เป็นของนักฟิสิกส์เพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป บุคคลอื่นก็สามารถมีความรู้ดังกล่าวได้ ความรู้เฉพาะทางจึงได้กลายเป็นของโลกโดยเหตุนี้ เมื่อมีการใช้ภาษาที่เหมาะสมในการอธิบาย

ใช่ ว่าข้าพเจ้าจะโจมตีว่านักฟิสิกส์เป็นพวกหวงวิชา เพราะนักฟิสิกส์ที่จะมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ก็ต้องถือว่าต้องใช้ความสามารถพิเศษทางภาษา เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่นเช่นกัน และหากจะมีผู้เชี่ยวชาญที่มีความเมตตากับเพื่อนมนุษย์ ปรารถนาจะถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น เช่นเดียวกับฮอว์คิง ก็คงเป็นผลดีกับโลกไม่น้อย

จักรวาลในเปลือกนัท" (The Universe In A Nutshell) หนังสือสำคัญที่สุดของต้นศตวรรษที่ 21 โดย สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) นักวิทยาศาสตร์ นักเขียน ผู้ได้รับการยกย่องเป็น "Master Of The Universe" โดยนิตยสาร NewsWeek และ "ทายาทของไอน์สไตน์" โดยวงการวิทยาศาสตร์โลก

อ่านเรื่องราวและส่วนร่วมของสตีเฟน ฮอว์คิง กับการค้นหา "จอกศักดิ์สิทธิ์" แห่งวงการวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ คือ การรวมทฤษฎีสัมพันธภาพเข้ากับทฤษฎีควอนตัม

ติดตาม เรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์จริงๆ ที่แปลกชวนพิศวง ยิ่งกว่านิยายวิทยาศาสตร์ ดังเช่น กำเนิดและวาระสุดท้ายของจักรวาล จักรวาลหลายมิติ ทฤษฎีสตริง หลุมดำ (ที่ไม่ดำจริง) สสารมืด อนาคตของมนุษยชาติ การท่องเวลา ฯลฯ

ความสำเร็จของ สตีเฟน ฮอว์คิง ไม่ได้มาจาก "ความอัจฉริยะ" ที่มาจากสมองของเขาเท่านั้น แต่มาจาก "หัวใจนักสู้" ต่างหาก ... ถึงแม้ร่างกายจะเริ่มหมดสภาพการเคลื่อนไหวลง แต่เขาไม่เคยหยุดทำงานหรือบ่นออกมาว่า "ทำไม่ได้" ...

เป็นเรื่องน่าขันน่าดูที่เห็นคนมีอวัยวะครบ 32 ประการ มีมือ มีขา มีสมอง กลับบ่น "ท้อใจ" เดินหนีปัญหากันอยู่ทุกวัน ... หัวใจไม่คิดสู้เหมือนกันคนที่กำลังจะตายจากภาวะโรคร้ายเขาทำ ... ลองคิด ไม่น่าละอายใจบ้างหรือยังไง ... หากลองเป็นเช่น สตีเฟน ฮอว์คิง ... คุณจะทำได้เท่าเขาพยายามเขยื้อนร่างกายไหม ?

"คนท้อ" กลับมาลองคิดดูให้ดี ๆ นะว่า "จะหนี" หรือ "จะสู้"

เกิดมามีแค่ลมหายใจเดียว ... จงทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ให้เต็มที่เถอะ

ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ แต่ขอให้ภูมิใจว่า เราได้ลงมือทำมันแล้ว

เราเชื่อว่า โอกาส ความรัก และกำลังใจ จะช่วยให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้น ในทุก ๆ วัน

เชิญ ร่วมเป็นส่วนหนึงของผู้ให้โอกาสและการยอมรับแก่ น้อง ๆ ผู้พิการทางร่างกายและสมอง บ้านเพื่อคนพิการ มูลนิธินักบุญคาลมิโล ร่วมกันเถอะค่ะ ในวันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2552 นี้

รายละเอียดติดตามได้ที่นี่ค่ะ (คลิ๊กได้เลย)

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก


http://gotoknow.org/blog/scented-book/
http://www.geocities.com/siamintellect/writings/



ขอบคุณ Blogger ni_gul แนะนำเรื่อง


Credit : http://www.oknation.net/blog/swongviggit/2009/07/25/entry-2

 

Views: 1825

Reply to This

Replies to This Discussion

 

 

เคยดูในช่อง  Discovery ครับ

 

อัจฉริยะจริงๆ

ขอบคุณมากครับผมก็สนใจเรื่องพวกนี้อยู่เหมือนกัน

ดีมากเลยครับน้องรัก ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันให้เพื่อนสมาชิกได้อ่านกันครับผม

 

บางทีทุกชีวิตมีทางดิ้นรนของมันเองเสมอ ขอเพียงอย่าเพิ่งสิ้นกำลังใจ 

บางที ควอนตัม ฟิสิกส์ อาจจะถูก อนุภาคแต่ละตัวมีวิถีชีวิตของมันเอง และคาดเดาไม่ได้ 

RSS

© 2024   Created by thaiMCFC.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service

Text Link Ads script error: local_200939.xml is not writable. Please set write permissions on local_200939.xml.