Members

กฎเรื่องผู้เล่นในทีมของ PREMIER LEAGUE

- Clubs register a squad of up to 25 players, which must include at least eight 'home-grown' players, at the end of each transfer window.

- Home-grown players do not have to be English; home-grown players are defined as those who "irrespective of nationality or age, have been affiliated to the FA or Welsh FA for a period of three seasons or 36 months prior to 21st birthday"

- Clubs can supplement squad with unlimited number of players under the age of 21.

 

http://www.pantip.com

Views: 1501

Reply to This

Replies to This Discussion

************************ไฟแนนเชี่ยล แฟร์ เพลย์ คืออะไร....*********************************


วันที่ 1 มิถุนายนนี้ วงการฟุตบอลยุโรปอาจจะถึงคราวเปลี่ยนแปลงเมื่อสหพันธ์ฟุตบอลแห่งยุโรป ( UEFA ) จะเอากฏที่ชื่อว่าไฟแนนเชี่ยล แฟร์ เพลย์มาใช้ควบคุมสโมสรในลีกสูงสุดทั้ง 660 ทีมใน 53 ประเทศทั่วทั้งยุโรป

อธิบายแบบคร่าว ๆ กฎนี้ก็คือเครื่องมือที่ UEFA จะเอามาใช้ควบคุมไม่ให้สโมสรต่าง ๆ ใช้เงินแบบเกินตัว และถ้าทีมไหนทำตามกฎไม่ได้ก็จะโดนลงโทษซึ่งรวมถึงการโดนตัดสิทธิห้ามลงแข่งขันฟุตบอล UEFA Champions League และ UEFA Ueropa League

คำว่าเกินตัว ก็คือ UEFA กำหนดเลยว่าแต่ละสโมสรที่จะเข้าแข่งขันฟุตบอลยุโรป จะต้องมีรายจ่ายไม่มากไปกว่ารายได้ในส่วนของธุรกิจฟุตบอล อาทิ ค่าผ่านประตู, เงินที่ได้จากลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด และสปอนเซอร์ผู้สนับสนุน

พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ทีมต้องมีรายได้มากกว่ารายจ่ายนั่นแหละ

อย่างไรก็ตาม UEFA ก็ยังอะลุ้มอล่วยนั่นคือจะนำมาใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. นี้ แต่ก็ยังจะไม่ลงโทษทีมต่าง ๆ ทันที แต่จะให้เวลาสโมสรได้ตั้งตัวและแก้ไขสถานะทางการเงินของตัวเอง โดย UEFA กำหนดว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 - 2014 แต่ละทีมจะสามารถขาดทุนได้ไม่เกิน 45 ล้านยูโร ต่อปี ก่อนที่ปี ค.ศ. 2014 - 2017 แต่ละทีมจะสามารถขาดทุนได้ไม่เกิน 30 ล้านยูโร และหลังจากนั้น ทุกทีมจะต้องไม่มีค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่หามาได้อีกต่อไป

สำหรับ บทลงโทษนั้น ทาง UEFA กำหนดไว้คร่าว ๆ ก็คือในฤดูกาล 2014 - 2015 อาจจะมีการตัดสิทธิสโมสรที่มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ไม่ให้ลงแข่งขันฟุตบอลสโมสรยุโรป นั่นหมายความว่า แต่ละทีมมีเวลาอีกประมาณ 3 ปี ที่จะทำบัญชีการเงินของสโมสรให้กลับมาอยู่ในจุดสมดุล

และแน่นอนว่าจากสถานการณ์ในตอนนี้ หลายสโมสรถือว่ามีความเสี่ยงที่จะโดนตัดสิทธิออกจากการแข่งขันในอีก 3 ปีข้างหน้า เรามาลองดูดีกว่าว่าบรรดาทีมยักษ์ใหญ่ของยุโรป แต่ละทีมสถานะทางการเงินเป็นอย่างไรกันบ้าง



โฮม โกรน เพลเยอร์ ในพรีเมียร์ลีก


ฤดูกาลนี้พรีเมียร์ลีกได้เปลี่ยนแปลงกฏใหม่ คือหลังการปิดตลาดซื้อ-ขาย ทุกสโมสรจะต้องมีนักเตะที่ลงทะเบียนไม่เกิน 25 คน และในจำนวนนั้นต้องเป็นนักเตะในประเทศ (home grown players) 8 ราย

หลายคนอาจสงสัยอะไรคือ โฮม โกรน เพลเยอร์? ทำไมต้องมีกฏนี้? ผลที่จะได้เป็นอย่างไร?

มิเชล พลาตินี ประธานสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ชื่นชม 3 ทีมที่เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลก 2010 คือ เยอรมัน, ฮอลแลนด์ รวมถึง สเปน ว่าช่วยส่งเสริมนักเตะรุ่นใหม่อย่างจริงจัง โดยเฉพาะดาวรุ่งในประเทศ จนประสบความสำเร็จกับการแข่งขันใหญ่ๆ และระดับเยาวชนตลอดไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งหมดเป็นผลจากความพยายามอย่างยาวนานของสมาคมลูกหนังทั้ง 3 ประเทศ ที่กล้าลงทุนฝึก และให้โอกาสนักเตะเยาวชน ตามนโยบายของยูฟ่าซึ่งมีขึ้นตั้งแต่ปี 2007


เชลซีไม่กระทบกับ โฮม โกรน เพลเยอร์ เพราะมีตัวหลักอย่าง จอห์น เทอร์รี่ (ซ้าย) กับ แฟร้งค์ แลมพาร์ด เป็นชาวอังกฤษอยู่แล้ว


ยูฟ่าอยากให้ส่งเสริมนักเตะท้องถิ่น หลังการเข้ามาค้าแข้งในยุโรปอย่างล้นหลามของนักเตะทั่วโลก หลังมีกฏบอสแมนเมื่อปี 1995 ทำให้ประเทศเจ้าของลีกได้รับผลกระทบ เพราะไม่สามารถปั้นดาวรุ่งขึ้นมาสู่ทีมชาติ หลายแห่งต้องโอนสัญชาติให้แข้งต่างด้าวกันมากขึ้น พลาตินี่จึงคิดให้สโมสรต่าง ๆ คัดเลือกนักเตะอายุต่ำกว่า 23 ปี ที่ผ่านการฝึกฝนในประเทศ ได้มีโอกาสลงเล่นฟุตบอลสโมสรยุโรป โดยยูฟ่ามีข้อกำหนดว่าสโมสรในศึกยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก จะต้องใส่ชื่อนักเตะที่ฝึกอยู่ในท้องถิ่นอย่างน้อย 8 จากทั้งหมด 25 คน

สเปนอาจไม่ได้แชมป์โลกถ้าไม่มี อันเดรส อิเนียสต้า, ชาบี เอร์นานเดซ, อิเคร์ กาซียาส, ดาบิด บีย่า, การ์เลส ปูโยล และ เซร์คิโอ รามอส นักเตะเหล่านี้ก็อาจไม่เก่งเหมือนในปัจจุบัน ถ้าอดีตนั้นไม่ได้โอกาสลงเล่นเพื่อพัฒนาฝีเท้า โดยเฉพาะสโมสรใหญ่ เพราะถ้าบีย่าหรือรามอสไปอยู่ กาดิช หรือ เอลเช่ คงยากจะเอาดีขึ้นมาได้ แต่ เรอัล มาดริด กับ บาร์เซโลน่า คือส่วนหนึ่งของหลายสโมสรที่ให้โอกาสดาวรุ่ง แม้อาจเพราะพวกเขามีซูเปอร์สตาร์หลายคน แค่ 4-5 รายก็จ่ายค่าเหนื่อยแต่ละสัปดาห์เป็นเงินล้าน จึงต้องให้นักเตะเยาวชนขึ้นมาช่วยแบ่งเบาภาระทางการคลัง

เมื่อดาวรุ่งพวกนี้มีโอกาสเล่นกับซูเปอร์สตาร์บ่อยๆ ความมั่นใจ และความสามารถก็เกิดขึ้น ผลที่ตามมาคือทีมชาติของพวกเขาได้นักเตะดีๆเข้ามาช่วยงานมากขึ้น ฟาบิโอ คาเปลโล่ ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษชาวอิตาเลียน และสมาคมฟุตบอลเมืองผู้ดี เคยอ้างว่าที่พวกเขาต้องผิดหวังจาก ฟุตบอลโลก 2010 เป็นเพราะขาดดาวรุ่งขึ้นมารับช่วงต่อเวลาที่ตัวหลักบาดเจ็บ หรือแก่ตัวลง โดยต่อไปจะเน้นให้โอกาสแข้งในประเทศมากขึ้น พรีเมียร์ลีกจึงรับลูกต่อด้วยการเปลี่ยนกฏให้รองรับนโยบายดังกล่าว แต่ดูเหมือนมีอีกหลายจุดที่ยังต้องกังวลกันอยู่


เชส ฟาเบรกาส แข้งทีมชาติสเปน แต่เป็น โฮม โกรน เพลเยอร์ ของอาร์เซน่อล เพราะถูกซื้อก่อนอายุ 18 ปี

เพราะมีการระบุด้วยว่านักเตะอายุ 21 ปี หรือต่ำกว่า ก็สามารถลงเล่นได้โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนอยู่ใน 25 คนนั้น นักเตะในประเทศ 8 คนที่เป็น โฮม โกรน เพลเยอร์ ต้องถูกลงทะเบียนเพื่อเล่นในประเทศอังกฤษมาแล้ว 3 ฤดูกาลก่อนพวกเขาจะอายุครบ 21 ปี ซึ่งถ้ายึดตามนี้แล้วก็จะแปลว่า บางสโมสรอาจใช้นักเตะต่างชาติเป็น โฮม โกรน เพลเยอร์ ก็ได้ ขอให้เป็นพวกที่ซื้อมาแล้ว 3 ฤดูกาล ตั้งแต่อายุไม่ถึง 18 ปี เช่นกรณีของ เชส ฟาเบรกาส, กาแอล กากูต้า หรือ นิโกล่าส์ อเนลก้า ไม่ก็ใส่ชื่อคนท้องถิ่นในบัญชี 8 รายไว้ตามกฏ แต่อาจไม่ถูกใช้ลงสนามจริงๆ

ก่อนมีกฏบอสแมน หลายลีกของยุโรปมีการจำกัดจำนวนผู้เล่นต่างชาติในแต่ละสโมสร และยูฟ่ากำหนดว่าสโมสรสามารถใช้แข้งกลุ่มนี้ได้แค่ 3 คน บวกสองรายที่มาจากทีมเยาวชน หลังกฏบอสแมน ทุกสโมสรมีอิสระใช้นักเตะไม่จำกัด เพราะถ้ามาจากประเทศเครือสหภาพยุโรป (อียู) ด้วยกัน ก็ไม่ถือว่าเป็นต่างชาติ 11 ตัวจริงจึงไม่จำเป็นต้องมีคนท้องถิ่นเลยก็ได้ ขอแค่อย่ามีพวกนอกอียูเกิน 3 รายเท่านั้น หลายสโมสรจึงสามารถตุนแข้งที่ต้องการเป็นหลักร้อย โดยเซ็นไว้ตั้งแต่อายุน้อย อาจมีผลประโยชน์ทางด้านการตลาดกับประเทศบ้านเกิดของดาวรุ่งคนนั้นด้วย แถมไม่ต้องเสียเวลาปั้นนักเตะท้องถิ่น ซึ่งไม่แน่ว่าจะเก่งจริงหรือเปล่า ค่าจ้างพวกต่างชาติยังถูกกว่าอีกต่างหาก เพราะหลายคนขอแค่มีโอกาสหากินในสโมสรชื่อดังก็พอ ให้เงินเท่าไหร่ก็เอา

มันยังทำให้อาชีพนายหน้านักเตะเฟื่องฟู เพราะมีหน้าที่หาแข้งดีๆมาเสนอให้สโมสรที่สามารถจ่ายได้สูงสุด แล้วนำเปอร์เซนต์มาแบ่งกัน โดยแมวมองไม่จำเป็นต้องเห็นฟอร์ม เมื่อไม่จำกัดแข้งต่างชาติ ทุกค่ายจึงต้องแข่งกันทุ่มซื้อเพื่อเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ ยิ่งมีคนเก่งเยอะยิ่งดี ถ้าเป็นเป้าหมายเดียวกับสโมสรอื่น ก็ต้องเพิ่มเงินให้ทั้งนักเตะ, นายหน้า และต้นสังกัดของเขาคนนั้นให้สูงขึ้น จึงเริ่มมีผู้เล่นราคาเป็นหลัก 10-20-30 ล้าน เมื่อใช้เงินมากขึ้น ทีมลูกหนังก็ต้องไปเรียกคืนจากแฟนบอล เพิ่มค่าตั๋วบ้าง ขายของที่ระลึกให้หลากชนิดมากขึ้น ในราคาที่แพงขึ้น


คริส สมอลลิ่ง (กลาง) จะได้ประโยชน์จากโฮม โกรน เพลเยอร์ อย่างไร เมื่อเจอคู่แข่งอย่าง เนมานย่า วิดิช

ข้ออ้างคือถ้าอยากดูแข้งดังเล่นกับทีมโปรด หรือต้องการให้ประสบความสำเร็จเพราะรวมคนเก่งไว้เยอะๆ (แต่อาจไม่ได้มาจากชาติเดียวกับสโมสร) กองเชียร์ก็ควรจ่ายแพงหน่อย ไปๆมาๆบางลีกจึงรวมตัวกันขอค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดการแข่งขันให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ โดยอ้างเป็นลีกที่รวมซูเปอร์สตาร์ทั่วทุกมุมโลก (แต่ไม่ได้ช่วยให้ดาวรุ่งของประเทศตัวเองมีโอกาสพัฒนาฝีเท้า) พอทุกอย่างมีราคาสูงขึ้น ทุกอย่างจึงเป็นเงินเป็นทอง มีโฆษณาเต็มสนาม แม้มันไม่ได้มาจากชาติตัวเอง หรือวางขายในละแวกที่ตั้งสโมสรนั้นด้วยซ้ำ จนถึงขั้นขายแม้แต่หุ้นของทีมให้ต่างชาติ

นักธุรกิจประเทศไหนมาซื้อสโมสรฟุตบอล ก็อยากให้ดาวรุ่งชาติเดียวกันมีโอกาสมาลงสนาม ไม่เคยมีใครประกาศจะพัฒนาฝีเท้าเด็กในท้องถิ่น เมื่อทุกคนไม่ว่าทั้งผู้บริหาร โค้ช และนักเตะต่างมาเพื่อเงิน จึงไม่ค่อยคิดทุ่มเทเพื่อสโมสรมากเท่ากับตัวเอง พอถึงเวลาตกอับก็ย้ายหนี ทีมที่ให้โอกาสนักเตะดาวรุ่งจริงๆจึงอยู่ในลีกต่ำๆ เพราะไม่มีเงินไปแย่งซูเปอร์สตาร์กับพวกยักษ์ใหญ่ แต่ถึงเวลาปั้นใครเก่งขึ้นมาได้ ก็ต้องขายไปให้พวกนั้นเช่นกัน ดาวรุ่งที่มาจากลีกต่ำๆ มักลงเอยด้วยการนั่งสำรองในทีมระดับบิ๊กเนม และตัวจริงส่วนมากก็คือชาวต่างชาติ ไม่ก็เป็นแข้งดังอายุเยอะ

ของเหล่านี้เห็นๆกันอยู่ ถ้าท่านผู้อ่านเป็นโค้ช แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จะเลือกใครลงสนาม ระหว่าง คริส สมอลลิ่ง หรือ เนมานย่า วิดิช ความเป็นจริงนั้นขนาด เบน ฟอสเตอร์ ต้องย้ายเพราะสู้ โทมัสซ์ คุซซัค และ เอ็ดวิน ฟาน เดอร์ ซาร์ ไม่ได้ หรือ "ปีศาจแดง" ไม่อยากเสี่ยงก็ไมรู้ ทำไม ลิเวอร์พูล ต้องซื้อ ราอูล เมยเรเลส รวมถึง คริสเตียน โพลเซ่น ทั้งๆมี เจย์ สเปียริ่ง อาจเป็นเพราะเสี่ยงเกินไปถ้าจะปั้นดาวรุ่งในประเทศ แต่ล้มเหลวกับการแข่งขัน เพราะความคาดหวังเรื่องการคว้าแชมป์ของสโมสร มาก่อนเรื่องอนาคตของนักเตะชาติตัวเอง


ถ้าลิเวอร์พูลปั้น เจย์ สเปียริ่ง (ซ้าย) เหมือน เจมี่ คาร์ราเกอร์ เพื่ออนาคตของอังกฤษ ก็อาจทำให้ชนะคู่แข่งลำบากกว่าเดิม

การมีกฏโฮม โกรน เพลเยอร์ เป็นเรื่องดี แต่คงหวังผลเลิศลำบากในยุคที่ทุกอย่างเป็นธุรกิจ พรีเมียร์ลีกทำอะไรได้ไม่มาก เพราะค่าลิขสิทธิ์ที่รับกันอยู่ส่วนหนึ่งก็มาจากเรื่องการมีซูเปอร์

กุยเด็ตติ ไม่มีรายชื่อในพรีเมียร์  แต่มีรายชื่อใน UCL ครับ

เพราะอายุไม่ถึง เลยไม่ต้องใส่รายชื่อในพรีเมียร์ลีกเหรอครับ ?

ผมว่า ตอนนี้ กองหน้าเราเจ็บสองคน  ควรให้โอกาสกุยเด็ตติ บ้างแล้วนะ  ตัวนี้ ทีมอื่นแย่งกันจะตาย ทีมเรากลับไม่เห็นค่า

 

จำไม่ได้  แต่เหมือนว่าถ้ามาค้าแข้งระยะเวลานานกว่า 5 ปี  ก็จะไม่ถูกนับเป็นโควต้าต่างชาติด้วยมั้ง   ตอนออกกฏมันก็มีช่องให้ยืดหยุ่นเยอะน่ะครับ

กอมปานี  ก็เหมือนว่าจะไม่โดนนับเป็นโค้วต้าต่างชาติ   นาสรี่ ก็เช่นกัน   เตฟ เช่นกัน   สรุปแทบไม่มีผลอะไรมากมายแล้ว   ส่งนักแต่โฮมโกล 6 คนจาก 11  หรือพูดง่ายๆ  ใส่นักเตะโควต้าได้ 5 คน  สำหรับซิตี้ก็ใส่ชื่อไปเลย 3 แล้วตอนนี้  ยาย่า ซิลบา  กุน   อีก 2 จะใช้หรือไม่ก็อยู่ที่  ผจก  ล่ะ (หลังจากนี้อาจมีเพิ่มอีก 2 จริงๆ  นาทาซิช  การ์เซีย  ไมค่อน  จากทั้ง 3 ตัวนี้แหละ)

ขอบคุณครับ ^^

RSS

© 2024   Created by thaiMCFC.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service

Text Link Ads script error: local_200939.xml is not writable. Please set write permissions on local_200939.xml.