Members

นักเตะ Third Party

ในยุคโลกาภิวัตน์ มูลค่าของสินค้าหลายอย่างเพิ่มขึ้นทุกวัน ไม่เว้นแม่แต่วงการฟุตบอล ที่ค่าตัวของนักเตะในปัจจุบันสูงเกินความเป็นจริง บางคนเพิ่งแจ้งเกิดได้เพียงปีเดียว แต่กลับมีค่าตัวมหาศาล อะไรคือสาเหตุของสิ่งเหล่านั้น? ทีมยักษ์ใหญ่แย่งตัวกันจนทำให้ค่าตัวพุ่งก็มีส่วนสำคัญ แต่ยังมีอยู่อีก 1 สิ่งที่หลายคนไม่ทราบ เราเรียกมันว่า “Third Party”


นักเตะ Third Party

Third Party หรือ การครองกรรมสิทธิ์ในตัวนักเตะร่วมกัน เป็นที่นิยมอย่างมากกับประเทศในแถบอเมริกาใต้ และในโปรตุเกส โดยจะมีกลุ่มนักลงทุนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของค่าตัวนักเตะ ยกตัวอย่างเช่น เอเลียควิม ม็องกาล่า นักเตะใหม่ของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่ย้ายมาอยู่กับทีมด้วยค่าตัว 53.8 ล้านยูโร (ประมาณ 2,260 ล้านบาท)

ม็องกาล่า มีเจ้าของถึง 3 ฝ่ายด้วยกัน โดยมี โดเยน สปอร์ต และ โรบี พลัส ที่ถือกรรมสิทธิ์ค่าตัวของ ม็องกาล่า 42 เปอร์เซนต์ ส่วนอีก 58 เปอร์เซ็นต์เป็นของ เอฟซี ปอร์โต้ ซึ่งเมื่อแบ่งจ่ายเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ ปอร์โต้ ได้เงิน 30.5 ล้านยูโร ส่วนอีก 2 บริษัทได้ไปทั้งสิ้น 23.3 ล้านยูโร

กรณีดังกล่าว หากไม่มีการครองกรรมสิทธิ์ร่วมกัน อาจทำให้ค่าตัวของ ม็องกาล่า ไม่ทะลุไปถึง 53.8 ล้านยูโร เพราะจะว่าไปแล้ว ม็องกาล่า เพิ่งแจ้งเกิดกับ ปอร์โต้ ได้เพียงฤดูกาลเดียวเท่านั้น อีกทั้งในทีมชาติ ฝรั่งเศส ก็ยังไม่ใช่ผู้เล่นตัวหลัก แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ปอร์โต้ ต้องดึงจำนวนเงินมหาศาล เป็นเพราะมี 2 บริษัทดังกล่าวเข้ามามีส่วนร่วมในการรับเงินด้วยนั่นเอง

ประเด็นนี้เคยเป็นที่พูดถึงในสมัยที่ เคีย ชูรับเชียน พาตัว คาร์ลอส เตเบซ กับ ฮาเวียร์ มาสเชราโน่ มาเล่นกับ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด เพื่อเป็นใบเบิกทางให้ทีมยักษ์ใหญ่อื่นๆ สนใจ ก่อนที่ตัวเองจะทำกำไรมากมายหลังนักเตะเหล่านี้ย้ายตัวไปอยู่กับทีมใหญ่แบบถาวร เช่น ตอนที่ เตเบซ เซ็นสัญญากับ แมนฯซิตี้ ด้วยค่าตัว 32 ล้านปอนด์ ก็ทำให้ เคีย ชูรับเชียน รับเงินมากมายมหาศาล ส่วนต้นสังกัดเก่าอย่าง โครินเธียนส์ กลับได้เงินไม่คุ้มค่ากับการที่ต้องเสียผู้เล่นตัวหลักไป

กอร์ดอน เทย์เลอร์ ประธานบริหารสมาคมนักฟุตบอลอาชีพเคยพูดถึงประเด็น Third Party ว่า การกระทำดังกล่าวเปรียบเสมือนการค้ามนุษย์ และทำให้เกิดความวุ่นวายจากบุคคลภายนอกที่หวังแต่เรื่องของเงินเท่านั้น

จริงอยู่ว่าในปัจจุบันวงการฟุตบอลจะเต็มไปด้วยเรื่องของธุรกิจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในเรื่องของศีลธรรมก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะนักลงทุนเหล่านี้มักจะมองการล่วงหน้า ใครที่มองว่ามีแววดีก็จะไปขอเป็นเจ้าของร่วม เสร็จแล้วพอเริ่มดัง ก็ใช้สิทธิ์ของการเป็นเจ้าของร่วมในการบีบให้นักเตะต้องย้าย หรือไม่ก็กดดันให้สโมสรต้องขายให้กับทีมใหญ่ แถมเวลาได้เงินกลับมาก็ได้ไม่เต็มน้ำเต็มหน่วยนัก เพราะเงื่อนไขของตัวนักเตะมีกรรมสิทธิ์ร่วมจากกลุ่มนักลงทุนนั่นเอง

เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ทางฟีฟ่าควรให้ความสำคัญเรื่องนี้มากกว่าเดิม และควรเข้ามามีส่วนในการแก้ปัญหานี้มากขึ้น การเป็นเจ้าของร่วมไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่ต้องควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และไม่เอาเปรียบสโมสรหรือตัวนักเตะมากเกินไป

ถ้าหากฟีฟ่าแก้ไขปัญหานี้ได้ ในอนาคตวงการฟุตบอลอาจเห็นนักเตะดาวรุ่งที่ค่าตัวสูงเกินความเป็นจริงลดลง และยังช่วยให้เรื่องนอกสนามของเกมลูกหนังใสสะอาดมากขึ้นด้วยเช่นกัน

sports.th

Views: 377

Reply to This

Replies to This Discussion

จริงครับ มันออกจะเปนสินค้ากลายๆ แต่ทำงัยได้ บางครั้งก้อต้องยอมรับความจริงว่า กีฬากับธุรกิจ ย่อมต้องไปด้วยกัน แม้แต่ตัวนักเะเองก้อตาม

แพงครับจะเก่งสมราคาหลืเป่าครับ

RSS

© 2024   Created by thaiMCFC.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service

Text Link Ads script error: local_200939.xml is not writable. Please set write permissions on local_200939.xml.