Members

พระราชกฤษฏีกาอภัยโทษ หมายความว่า การใดๆที่กระทำลงไปแล้ว ยก(ไม่ต้องรับหรือหย่อน)โทษแต่ไม่ยก(ยังคงมี)ความผิด เป็นอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งจากการรัฐประหาร นำขึ้นกราบบังโคมทูลเพื่อลงพระปรมาภิไธย  เป็นมาตรการทางกฎหมายที่เป็นอำนาจของฝ่ายบริหารมักจะประกาศใช้บังคับเนื่องในวาระพิเศษเช่นวันสำคัญๆของประเทศชาติ หรือ ใช้ในกรณีที่ต้องการระงับผลคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรม /หรืออาจถึงขนาดไม่ชอบธรรม (เกณฑ์วัดมันอัตวิสัย(ค้านสายตาคนดูที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย(ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง)))  สำหรับเกณฑ์ชี้วัดที่ภาวะวิสัย อาจไม่ต้องดูเนื้อหาของคำพิพากษาก็ได้ เพียงดูองค์กรว่า ระหว่างองค์กรรัฐฝ่ายตุลาการ กับ องค์กรรัฐฝ่ายบริหาร องค์กรใดมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย (เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้อำนาจอธิปไตย(ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง))มากกว่ากัน

การใช้อำนาจอภัยโทษในแง่นี้ก็เป็นการ "การตรวจสอบ และ ถ่วงดุล" ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นขาดไม่ได้เลยในนิติรัฐ ครอบคลุมทุกองค์กร (กรณีการกระทำของฝ่ายบริหาร ไม่ถูกต้อง การชี้วัดตัดสิน เขาจะต้องรับผิดชอบ ในช่วงเลือกตั้ง ผลัดอำนาจ -- มันมีเรื่อง "อำนาจ & ความรับผิดชอบ" รองรับอยู่)
ถ้าพิจารณาในแง่นี้ องค์กรตุลาการ ย่อมมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย และการถูกตรวจสอบการใช้อำนาจ น้อยยิ่งกว่า บรรดาองค์กรอิสระ หรือไปจนถึง พนักงานทะเบียนในสำนักงานอำเภอ ด้วยซ้ำ (เพราะอย่างน้อย องค์กรอิสระอาจถูกถอดถอนโดย ส.ว., หรือ พนักงานในอำเภอ อยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชา ตามสายงาน โดยรัฐมนตรี)
ในแง่ ความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม แม้พิสูจน์แน่แท้ว่า เขาเป็นฆาตกร แต่คงปฏิเสธตัวแปรในกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ และมีมากด้วย เช่น ความเก่งกาจของทนายความ ความถูกต้องของพยานหลักฐาน ความผิดพลาดในการชั่งน้ำหนักพยาน ความบังเอิญ ความเป็นการเมืองในกระบวนการยุติธรรม หรือบิดเบือนตั้งแต่ชั้นสืบสวนสอบสวน หรือไปถึง "อคติของตุลาการ" เอง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่มีมูลเหตุชักจูงใจทางการเมือง) - คดีตีหัวหมา ด่าแม่เจ๊กทั่วไป หรือแบ่งที่ดินมรดก ปัญหาอคติของตุลาการอาจไม่มีนัก กล่าวคือ ทั้งกระบวนการยุติธรรมมันไม่เป็น สูตรคณิตศาสตร์ อย่างใน หนังสือหลักวิชาชีพนักกฎหมาย

 

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม หมายความว่า การใดๆที่กระทำลงไปแล้วถือว่าไม่มีความผิด(ถ้าเป็นเช่นงั้นย่อมไม่มีการลงโทษ) เป็นอำนาจของรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนหรือสภานิติบัญญัติที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร นำขึ้นกราบบังโคมทูลเพื่อลงพระปรมาภิไธย  มักจะร่างโดยสภานิติบัญญัติที่มาจากการแต่งตั้งของรัฐประหารเพื่อนิรโทษกรรมให้กับคณะผู้กระทำการรัฐประหาร เช่น พระราชบัญญ้ติฯลฯ

กรณีที่ร่างโดยรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งย่อมเป็นการถ่วงดุลกับอำนาจอื่นๆดังกล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ในกรณีที่ร่างโดยสภานิติบัญญัติที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารไม่ขออธิบายเพิ่มเติม

 

ถ้าคำว่า "นำขึ้นกราบบังโคมทูลเพื่อลงพระปรมาภิไธย" หมายความว่า "กดพระเศียรให้ลงนาม" ทั้งสองกรณีย่อมมีความหมายไม่แตกต่างกัน

 

ต้ายตาบโพสผิด web นี้หว่าเรา

Views: 467

Replies are closed for this discussion.

Replies to This Discussion

ยุคนี้ฆ่าคนตาย91ศพไม่ผิด ยึดทำเนียบ ยึดสนามบินไม่ผิดชาวบ้านเรียกหาประชาธิปไตยไม่ถึงปีสานตัดสินติดคุก เซ็นรับทราบให้เมียซื้อที่ดินผิด แต่คนขายคนซื้อไม่ผิดแถมดอกเบี้ยหลายสิบล้านโอ้. ตุรากานพิบัด

เว็บนี้เพื่อการติดตามข่าวสารบอล เพื่อมิตรภาพ ผมว่าไม่สมควรนำการเมืองเข้ามานะครับ ผมว่าคุณน่าจะเข้าใจวัตถุประสงค์ของเว็บคลาดเคลื่อนนะครับ

+1

จาเป็นไรไป

ดีๆๆ ได้ความรู้ดี ว่าแต่น่าจะปรับเป็นหัวข้อทั่วไปมากกว่านะคับ ^ ^

อ้าวเอาการเมืองมาโพสทำไม เว็บเชียร์บอลนะคับ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่เอามาลง

คุณ ก้อ ไม่ต้องอ่าน สิ ครับ

RSS

© 2024   Created by thaiMCFC.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service

Text Link Ads script error: local_200939.xml is not writable. Please set write permissions on local_200939.xml.