Members

เที่ยวเมืองไทยกันดีกว่า บ้านเรามีสถานทีท่องเที่ยวมากมาย แถมเงินทองไม่รั่วไหล ไปต่างประเทศยามเศษฐกิจตกต่ำเพราะรัฐบาลเก่งเกิน

ก่อนอื่น ขอพาทุกคนไปสถานที่สำคัญที่สุดของเมืองไทย คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่คนไทยรู้จัก ที่เรียกกันติดปาก คือวัด พระแก้วมรกต และ และพระบรมหาราชวัง

วันนี้พาชม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้ๆกับ สนามหลวง ,กระทรวงกลาโหม และวัดโพธ์ ภายในวัดอากาศไม่ร้อน ร่มรื่นเย็นสบาย ยกเว้นออกไปเดินกลางแจ้งหรือกลางแดดจะร้อนหน่อยนะครับ

ช่วงนี้จะพาชมวัดถี่หน่อยนะครับ เพราะตั้งใจจะเที่ยววัดในกรุงเทพฯให้ชุ่มปอด

หมายเหตุ แต่งกายสุภาพในการเข้าชมวัด อนุญาติให้ใส่กางเกงขายาวได้ทั้งหญิงและชาย สำหรับร้องเท้าแตะฟองน้ำ กางเกงขาสั้น และกระโปรงสั้นจู๋ไม่ควรอย่างยิ่ง

ชมความงดงามภายในวัดได้จาภาพข้างล่างนี้นี้ครับ
[img]http://i243.photobucket.com/albums/ff278/mimikub/2-8.jpg?t=1232435520[/img]
[img]http://i187.photobucket.com/albums/x257/mayaknight07/watprageaw11.g...[/img
นี่คือพระอุโบสถ
[img]http://i187.photobucket.com/albums/x257/mayaknight07/watprageaw10-1...[/img]
นี่รอบๆอุโบสถ
[img]http://i187.photobucket.com/albums/x257/mayaknight07/watprageaw38-1...[/img]
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียร์

ง่วงแล้วอิอิ พรุ่งนี้มาใหม่

Views: 714

Reply to This

Replies to This Discussion

ต้องขอขอบคุณ คุณ tos09 ด้วยครับ ลุงกับป้าเคยเข้าไปชื้นชมความงามของวัดพระแก้วเมื่อเกือบยี่สิบปีมาแล้ว สมัยพระเทพฯ ทรงให้บูรณะ เสร็จใหม่ๆ เห็นทีจะต้องพาเจ้าตัวเล็กๆไปชมความงามของศิลปะต้นกรุงรัตนโกสินธ์ซะแล้ว
อยากกลับไปเที่ยวเมืองไทยที่สุดเลยคะ... เสียดายตอนที่อยู่ไทยเมื่อมีเวลาว่าง ก็เอาแต่เที่ยวห้างฯกับดูหนังซะนี่..เรา..
คราวนี้ ถ้ามีบุญได้กลับไปเที่ยวไทยตอนปลายปีนี้ หนูจะเที่ยวให้คุ้มเลยคะ เพื่อนๆ พี่ๆ ที่อยู่ไทย อย่าลืมเที่ยวเพื่อ ชิ ด้วยนะจ๊ะ...
สวย ครับ งิงิ
ลิงค์ภาพด้านบน

นี่คือพระอุโบสถ

นี่รอบๆอุโบสถ

จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์
ยังคงงดงาม น่าชื่นชม และเสื่อมใสอยู่เสมอ วัดพระแก้ว
วัดพระแก้ว สร้างในสมัยรัชกาลที่1 คศ 1767 ประมาณ2ร้อยกว่าปีแล้ว เป็นวัดหลวงและสร้างในพระบรมมหาราชวัง จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาที่สำคัญของประเทศ การสร้างวัดนี้ ได้รับอิทธพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมจากอยุธยาและเขมร เป็นวัดที่สวยงามมาก มีการบูรณะซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา ปัจุบันมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ จำนวนมากมาชมความงดงามของวัดนี้ ส่วนคนไทยก็จะไปกราบไหว้ บูชา พระแก้วมรกต ที่ประดิษฐานอยู่ที่พระอุโบสถ จำนวนมากโดยเฉพาะวันหยุดเสาร์และอาทิตย์
กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของราชอาณาจักรไทย ที่มีความหมาย เป็นนครแห่งทวยเทพ มีหัวใจอยู่ที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นพื้นที่แรกสร้างพระนคร นับเป็นพื้นที่ ที่สั่งสมมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย ไว้ให้เราชนรุ่นหลัง ได้เห็นได้เรียนรู้ได้รับรู้บังเกิดความ ภาคภูมิใจและนำความรู้ทั้งหลายทั้งปวง มาปฏิบัติตาม ประกอบอาชีพกันด้วย สัมมาอาชีวะจนถึงทุกวันนี้

วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมัง คลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระ บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่า ที่เมืองบางกอก ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐาน พระพุทธเทวปฏิมากร พระประ ธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุ พระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย

พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ 50 ไร่ 38 ตารางวาอยู่ ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำ แพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสชัดเจน

มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระ บรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระ บรมมหาราชวัง 2 วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2331


ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 28 วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อ 2344 พระราชทานนามใหม่ ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมัง คลาวาศ” ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้าย นามวัดเป็น "วัดพระเชตุ พนวิมลมังคลาราม"

ครั้น รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ นานถึง 16 ปี 7 เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตก คือ ส่วนที่เป็นพระ วิหารพระพุทธไสยาสสวน มิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ เป็นโบราณสถาน ในพระอารามหลวง ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แม้การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อฉลองกรุงเทพฯ 200 ปีพ.ศ. 2525 เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใด ๆ

เกร็ดประวัติศาสตร์ ของการสถาปนา และการบูรณะปฏิ สังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้ บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ 1 และที่ 3 ขุน นาง เจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ ได้ระดมช่างในราชสำนัก ช่าง วังหลวง ช่างวังหน้า และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้ เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ ได้ทุ่มเทผลงานสร้าง สรรค์พุทธสถาน และสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ใน วัดพระอาราม หลวงด้วยพลังศรัทธา ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย (มหาวิทยาลัยเปิด แห่งแรก) ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทย ไว้เป็นมรดกให้ลูก หลานไทยได้เรียนรู้กับอย่างไม่รู้จบสิ้น
ระพุทธไสยาส ๑

ยาว ๑ เส้น ๓ วา (๔๖ เมตร)

พระพุทธไสยาศน์ พระองค์นี้ พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นครั้งทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ คือการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น ได้โปรดฯ ให้ขยายเขตต์พระอารามออกไปทางทิศเหนือ แล้วโปรดฯ ให้สร้างพระพุทธไสยาศน์ขึ้นในที่ซึ่งได้ขยายออกไปใหม่นั้น เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐปูนปั้นกับทั้งพระวิหาร ๑๓ ห้อง มีมุขลด ๓ ชั้น ดังที่เห็นปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แต่กระบวนฝีมือช่างที่ปั้นนั้นควรจะนับว่าเป็นฝีมืออย่างเอก เพราะเหตุที่ว่าการปั้นของใหญ่โตเช่นนี้ เป็นของที่จะปั้นให้งามได้โดยยาก ส่วนช่างที่ปั้นพระพุทธไสยาศน์พระองค์นี้ มีความสามารถปั้นได้งามอย่างที่เห็นปรากฏอยู่ทุกวันนี้

และเรื่องฝีมือช่างที่ปั้นพระพุทธไสยาศน์นั้น เคยได้เรียนถามเจ้าคุณพระรัชมงคลมุนี ๒ ซึ่งอยู่ในวัดพระเชตุพนฯ มาถึง ๖๐ ปีเศษ และยังมีตัวอยู่บัดนี้ ท่านได้กรุณาชี้แจงว่า เคยได้ทราบมาจากผู้หลักผู้ใหญ่เล่าสืบกันมาว่าพระพุทธไสยาศน์ เป็นฝีมือพระหัตถ์แต่มิได้ทราบว่าเป็นฝีพระหัตถ์ของเจ้านาย พระองค์ใดได้ความเพียงเท่านี้ และในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ท่านได้ทรงพรรณนาถึงแม่กองในการปฏิสังขรณ์ครั้งรัชกาลที่ ๓ ไว้ดังต่อไปนี้

“ จักนิพนธ์พยรเพ่อมสาร เสนอแม่การแม่กอง ท้งงผองเพื่อพึงรู้ ทกผู้
ขัติยพงษ์ องค์กรมไกรสรวิชิต ดูกิจการงานสรับ สองกับกรมมาตยา กรมวงษา
นามยศ์ องค์มรกฏชุมแสง์ องค์กลางแสดงโดยกิจ์ ดูพิหารทิศท้งงส์ ที่อุโบสถ
บริเวณ กรมอำมเรนทร์รงงสฤษดิ์ กิจเจดีย์ตรีสถาน การหอตรยกุฏา ซุ้มทวารา
ท้งงหลาย องค์ชุมสายรงงรักษ กรมศรีพนักงานท วิหารสี่ห้องสองหลงง
เรือนระฆงงการบุรยน ช้นนพาหยรเขตรขอบ รบยงรอบสี่ทิศ กิจอุภยสุริยวงษ์
องค์งอนรถโกเมน เกณฑ์การท่ววท้งงมวญ เก๋งสระสวนสองสถาน งานสฤษดิ์
องค์อรรณพ จบจุลเจดีย์ล้อม ห้อมพระรบยงรยงไสว องค์อุไรรงงสรรค์ องค์
ลดาวลยปนนงาน วิหารพระพุทธไสยาศน์” ดังนี้เป็นต้น


ตามพระนิพนธ์นี้ปรากฏว่า พระองค์เจ้าลดาวัลย์ได้ทรงเป็นแม่กองในการสร้าง พระวิหารพระพุทธไสยาส และคงจะตลอดถึงพระพุทธไสยาศน์นั้นด้วย เพราะฉะนั้นส่วนช่างที่ปั้นพระพุทธไสยาศน์ ตามที่เจ้าคุณพระรัชชมงคลมุนีกล่าวว่าเป็นฝีพระหัตถ์นั้น น่าจะเป็นฝีพระหัตถ์พระองค์เจ้าลดาวัลย์ ซึ่งต่อมาได้ดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นภูมินทรภักดีนั้นก็อาจเป็นได้ พระองค์ท่านคงจะทรงชำนิชำนาญในกระบวนช่างอยู่ด้วย และในข้อนี้มีพะยานปรากฏว่าในชั้นหลังครั้งรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดฯ ให้ท่านทรงกำกับกรมช่างสิบหมู่อยู่ตลอดจนสิ้นพระชนมายุ ในรัชกาลที่ ๕

พระพุทธไสยาศน์พระองค์นี้ ปรากฏในจดหมายเหตุว่า เมื่อในรัชกาลที่ ๓ ปีฉลู พ.ศ.๒๓๘๕ นั้น อสนิบาตได้ตกต้องพระรัสมีหักประมาณคืบหนึ่ง และต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ปีกุญ พ.ศ.๒๓๙๔ พระรัสมีตกลงมาอีกครั้งหนึ่ง ในตอนนี้ปรากฏในหนังสืออื่นว่า พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาศน์ แต่การปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น สันนิษฐานว่าจะทรงปฏิสังขรณ์เฉพาะแต่พระรัสมีที่ตกลงมาเท่านั้น คงจะไม่ได้ทรงปฏิสังขรณ์ตลอดทั้งพระองค์ ถ้าทรงปฏิสังขรณ์ตลอดทั้งพระองค์ในครั้งนั้นแล้ว ตอนพระองค์ก็คงจะไม่ชำรุดทรุดโทรมอย่างที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้

หมายเหตุ ๑. ปัจจุบันทางวัดใช้ว่า “พระพุทธไสยาส” (ไม่มี น์) ตามมติของสมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต ป.๙ ) โดยให้เหตุผลว่า คำว่า “ไสยาส” แปลว่า นอน ส่วนคำว่า ไสยาสน์ มาจาก ไสยา + อาสน แปลว่า นอนและนั่ง แต่ในที่นี้คงใช้ตามต้นฉบับ ๒. พระรัชชมงคลมุนี (ใจ จนฺทโชติ) เดิมเป็นพระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ ฐานานุกรมในหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัด) อธิบดีสงฆ์รูปที่ ๖ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรม ต่อมา พ.ศ.๒๔๓๖ ได้เป็นพระราชาคณะที่พระญาณโพธิ พ.ศ.๒๔๖๙ เลื่อนเป็นชั้นราชที่ พระรัชชมงคลมุนี พ.ศ.๒๔๗๒ เป็นชั้นเทพที่ พระมงคลเทพมุนี มรณภาพ พ.ศ.๒๔๗๕ อายุ ๘๘ ปี
ความงดงามของวัดไทย
Attachments:

RSS

© 2024   Created by thaiMCFC.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service

Text Link Ads script error: local_200939.xml is not writable. Please set write permissions on local_200939.xml.