Members

โลกแบบเรา มีเพียงดวงเดียวในเอกภพจริงหรือ? โดย ดร.เอกรินทร์ วาสนาส่ง

แกแลคซี่ทางช้างเผือก ระบบสุริยะจักรวาลของเราทั้งหมดเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ
ในแกแลคซี่เท่านั้น

ถ้าเราจะมองย้อนกับไปในประวัติศาสตร์ แต่ก็คงไม่ต้องย้อนไปมากนัก
เพราะก่อนหน้าที่มนุษย์จะรู้จักดาราศาสตร์ รู้จักวิทยาศาสตร์
มนุษย์เองก็ยังไม่รู้จักโลกที่เราอยู่ดีเพียงพอเสียด้วยซ้ำ
บางคนคิดว่าโลกแบน อย่างเช่น พวกบาบิโลเนียน อียิปต์โบราณ กรีก
และอินเดียโบราณ รวมถึงจีนในช่วงก่อนศตวรรษที่ 17
บางคนคิดว่าว่างอยู่บนหลังเต่า หรือบางคนอาจคิดเลยเถิดไปได้สารพัด
แล้วแต่วัฒนธรรมของแต่ละชนชาติ กว่าจะรู้ว่าโลกกลมกันจริง ๆ
ก็ล่วงเลยมาจนถึงยุคของ Ferdinand Magellan นักสำรวจชาวโปรตุเกต
ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 15 คือ (ค.ศ. 1519-1522)
ซึ่งเขาได้เดินทางข้ามจากมหาสมุทรแอตแลนติก ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก
และเดินเรือรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก ซึ่งเป็นการพิสูจน์ได้ชัด ๆ ว่าโลกกลม
ถึงแม้ว่าก่อนหน้านั้นจะมีนักดาราศาสตร์ชาวกรีก
อธิบายหลักการเกี่ยวกับโลกและวงโคจรของดวงดาวมาแล้วก็ตาม
โดยนักปราชญ์ชาวกรีกที่เคยเสนอแนวความคิดว่าโลกกลมก็ได้แก่ Parmenides
แห่งเมือง Elea ตั้งแต่สมัย 500 ปีก่อน ค.ศ. หรือแม้แต่ Pythagoras
นักปราชญ์ชาวกรีกอีกคนหนึ่งซึ่งได้เคยอธิบายว่าดวงดาวทั้งหลายนั้นล้วนเป็น
ทรงกลม โดยเขาสังเกตจากตอนเกิดจันทรุปราคา หรือสุริยุปราคา
ว่ารอยเว้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นทรงกลมแน่นอน โดยเขาได้กล่าวไว้ตั้งแต่ 600
ปีก่อน ค.ศ. เสียอีก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานอะไรที่เด่นชัด
จนทำให้คนทั่วไปเชื่อตามได้ทั้งหมด

อันที่จริงแล้วโลกเรานั้นไม่ได้กลมเหมือนกับลูกฟุตบอล
แต่โลกมีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม.
ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม.
และส่วนประกอบบนพื้นผิวนั้นก็มีพื้นน้ำอยู่ถึง 3 ส่วน หรือ 71%
และมีพื้นดินอีก 1 ส่วน หรือ 29 % โดย แกนโลกจะเอียง 23.5 องศา
ถ้าจะเอาคำจำกัดความจากวิกิพีเดีย เราก็จะได้ความหมายของโลกคือ โลก
เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม
โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมี
ชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน
(4.57×109) ปีก่อน
และหลังจากนั้นไม่นานดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือ
กำเนิดตามมา
สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์นั่นเอง

พูดมาถึงตรงนี้เราคงได้รู้จักโลกที่เราอยู่กันนานแสนนาน
แต่ที่ว่านานแสนนานของเรานั้นเทียบไม่ได้เลยกับอายุของโลก ที่ยาวนานมากว่า
4,500 ล้านปีแล้ว
ในขณะที่พวกเราเองพึ่งกำเนิดขึ้นมาในโลกนี้เมื่อไม่นานมานี้เองเมื่อเทียบ
กับโลก ถ้านับถึงยุคลิงเอพ ที่เริ่มรู้จักใช้อาวุธ หรือสิ่งทุ่นแรง
ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นมนุษย์ก็ยังอยู่แค่ไม่เกิน 5 ล้านปีเท่านั้น
แต่ถ้านับช่วงที่เป็นมนุษย์จริง ๆ ก็แค่ไม่ถึงแสนปีมานี้เอง
ส่วนถ้าจะนับถึงช่วงที่เริ่มมีการรวมกลุ่มกันอยู่ และรู้จักเพาะปลูก
ก็ประมาณ 9,000 ปีเท่านั้น ไม่ต้องนับถึงอารยธรรมเก่าแก่แรก ๆ
ของโลกที่เพิ่งจะเกิดขึ้นในช่วง 5,000 ปีที่ผ่านมานี่เอง
บางคนอาจคิดในใจว่า จะบ้าหรือ 5,000 ปี นี่มันนานจะตาย…
แต่เมื่อเทียบกับอายุโลก และจักรวาลแล้ว แสนจะสั้นจุ๊ดจู๋

เรามาลองมองออกไปบนท้องฟ้ากันบ้าง ถ้าใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวต่างจังหวัดไกล ๆ
ที่มีแสงไฟน้อย ๆ
เมื่อมองขึ้นไปบนท้องฟ้าเราจะเห็นดวงดาวระยิบระยับเต็มไปหมด
แต่ที่ว่าเยอะนั้นเราเองก็ไม่รู้ว่าเท่าไหร่ ลองมานึกภาพตามว่า
ระบบสุริยะจักรวาลของเรานั้น โคจรอยู่บนขอบ ๆ
เกือบจะรอบนอกของแกแลกซี่ทางช้างเผือก หรือ Milky Way Galaxy
ที่มีลักษณะเหมือนก้นหอย โดยในแกแลคซี่ทางช้างเผือกนี้มีจักรวาลหน้าตาคล้าย
ๆ ของเราอีกนับหมื่นล้านจักรวาล
โดยแต่ละจักรวาลก็มีดาวบริวารมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป
แต่ถ้าจะมองกันจริง ๆ ก็พอจะประมาณได้ว่าดวงดาวต่าง ๆ
เฉพาะในแกแลคซี่ทางช้างเผือกอย่างเดียว ก็รวมแล้วกว่า 1 แสนล้านดวง….
และก็ไม่น่าเชื่อว่า ในเอกภพ ที่คาดกันว่าเกิดขึ้นมาจาก Big Bang เมื่อกว่า
15,000 ล้านปีที่แล้วนั้นประกอบด้วย แกแลคซี่ต่าง ๆ ที่หน้าตา คล้าย ๆ
กับแกแลคซี่ทางช้างเผือกของเราอีกเป็นแสนล้านแกแลกซี่
ซึ่งนั้นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้นักฟิสิกส์ต้องใช้หน่วยวัดระยะทางในจักรวาลและ
แกแลคซี่ของเรา เป็นปีแสง ซึ่งก็คือระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทางหนึ่งปี
อยากรู้ว่าเท่าไหร่ก็เอาความเร็วแสง ประมาณ 300,000 กิโลเมตร ต่อวินาที
คูณกับ จำนวนวินาทีใน 1 ปีเข้าไปก็จะทราบว่าระยะทาง 1
ปีแสงนั้นมันยาวไกลสักแค่ไหน

แกแลคซี่อันโดรเมดา เป็นแกแลคซี่เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดที่สุดของเรา
อยู่ห่างจากเราแค่ 2 ล้านปีแสงเท่านั้น

โลกห่างจากดวงอาทิตย์ 8 นาทีแสง หรือ 144,000,000 กม.
และห่างจากกึ่งกลางทางช้างเผือก 40,000 ปีแสง หรือถ้าจะพูดคราว ๆ
เส้นผ่าศูนย์กลางของแกแลคซี่ทางช้างเผือกก็อยู่ที่ประมาณ 100,000 ปีแสง
หรือให้ง่ายเข้าไปอีกว่าถ้าเราส่องแสงที่มีพลังงานสูงออกไปในอวกาศ
มุ่งหน้าไปยังแกนกลางของแกแลคซี่ทางช้างเผือกของเรา ณ.วันนี้
กว่าแสงจะเดินทางไปถึงแกนกลางของแกแลคซี่ก็ต้องรอกันอีกไม่ต่ำกว่า 40,000
ปี ซึ่งตอนนั้นคนที่ส่องแสงคงตายจนเกิดใหม่ไปหลายชาติแล้ว
ดังนั้นจากตัวอย่างที่ยกมาเราก็คงจะพอทราบแล้วว่า
ในขณะที่เรามองแสงดาวระยิบระยับ ที่กระจายอยู่เต็มท้องฟ้านั้น
เรากำลังมองอดีตของมันอยู่
ซึ่งไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่าในเวลาปัจจุบันนั้น มันยังคงอยู่หรือไม่

ถ้านับถึงปัจจุบัน มนุษยชาติของเรามีเทคโนโลยีต่าง ๆ
มากมายในการเดินทางไปสู่อวกาศ ไปดวงจันทร์ สร้างสถานีอวกาศ
ส่งยานไปสำรวจดาวอังคาร หรือดาวอื่น ๆ
แต่แค่ดาวในระบบสุริยะจักรวาลของเราเองเราก็ยังสำรวจไม่หมดเลย
แต่ด้วยเทคโนโลยีของกล้องโทรทัศน์สำรวจอวกาศอย่างฮับเบิล และกล้องอื่น ๆ
ที่ติดตั้งอยู่ทั่วโลก และในอวกาศ อย่างเช่น Kepler
ทำให้เราสามารถสำรวจพบดวงดาวต่าง ๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะจักรวาลได้แล้วกว่า
373 ดวง และก็มีหลายดวงที่มีแนวโน้มว่าจะมีองค์ประกอบต่าง ๆ คล้าย ๆ
กับโลกของเรา ถึงแม้จะไม่เหมือนเป๊ะเสียทีเดียว
นั่นหมายความว่าความเป็นไปได้ของสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ
นั้นก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับบนโลก ใช่หรือไม่?
ทุก ๆ วันจะมีดาวที่แตกดับไป และเกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา
ก่อนหน้าที่นาซ่าจะส่งกล้องโทรทัศน์ Kepler ตัวใหม่ขึ้นไป
เราสามารถค้นพบดวงดาวต่าง ๆ ที่มีระยะห่างจากโลกออกไปประมาณ 400 ปีแสง
แต่หลังจากที่นาซ่าได้ส่งดาวเทียม Kepler
ที่ติดกล้องโทรทัศน์พลังงานสูงขึ้นไป รัศมีในการสำรวจดวงดาวต่าง ๆ
ของเราได้เพิ่มขึ้นไปถึง 6,000 ปีแสง
ส่วนที่ไกลกว่านั้นยังมีความคาดเคลื่อนสูง ดังนั้นเมื่อสายตาเราดีขึ้น
(หมายถึงกล้องที่ดีขึ้น)
ย่อมหมายความว่ามีโอกาสมากขึ้นที่เราจะพบดาวที่มีขนาดใกล้เคียงโลก หรือ
ดวงอาทิตย์ดวงอื่น ๆ ในระยะทางประมาณ 600-1,800 ปีแสง ขึ้นไป
ซึ่งภารกิจหลักของกล้องโทรทัศน์ Kepler
ก็คือหาดาวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโลกของเรา
ซึ่งอยู่นอกระบบสุริยะจักรวางของเราให้ได้มากที่สุด โดยเจ้า Kepler
ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2009 ซึ่งชื่อ Kepler
ก็นำมาจากชื่อของนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงชาวเยอรมัน ชื่อ Johannes
Kepler
และถือได้ว่าเป็นดวงตาคู่ใหม่ที่เจ๋งกว่าเก่าที่จะสำรวจออกไปยังอวกาศอันไกล
โพ้นเพื่อค้นหาดาวดวงใหม่ ๆ



กล้องโทรทัศน์ Kepler และภารกิจในภาพที่จะสำรวจดาวในแถบสีเหลือง ระยะห่าง 6
พันปีแสง

เมื่อพูดมาถึงตรงนี้คงจะพอเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่าสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์และนัก
ดาราศาสตร์ทั่วโลกคิดนั้น เป็นอย่างไร
คงไม่ต้องบอกว่านักวิทยาศาสตร์คิดว่ามีโลกแบบเราใบเดียว
โดดเดี่ยวในเอกภพอันกว้างใหญ่หรือไม่
นักวิทยาศาสตร์เชื่อหรือไม่ว่าน่าจะมีสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในรูปแบบอื่น ๆ
อยู่บนโลกใบอื่น ๆ ถ้าท่านยังตอบไม่ได้ ผมจะขอตอบให้ว่า
ผมเชื่อครับว่ามีแน่
แต่ด้วยเทคโนโลยีและศักยภาพในการเดินทางของเราในขณะนี้เมื่อเทียบกับขนาดของ
แกแลคซี่ หรือ เอกภพแล้ว เราคงยังไม่มีปัญญาเดินทางไปถึง
หรือค้นพบสิ่งมีชีวิต หรือโลกอื่นในเวลาอันใกล้นี้อย่างแน่นอน
เพราะเราเองก็เปรียบเสมือนเม็ดทรายเพียงหนึ่งเม็ดในมหาสมุทรกันกว้างใหญ่ของ
เอกภพเท่านั้นเอง.
เครดิต http://technoforlife.ning.com/profiles/blogs/3576352:BlogPost:6291

Views: 2270

Comment

You need to be a member of Manchester City Fan Club in Thailand Website to add comments!

Join Manchester City Fan Club in Thailand Website

Comment by James Tyton on May 14, 2010 at 5:32pm
ครับพี่ 1 เดี๋ยวจะหามาอัพเดทเรื่อยๆครับ
Comment by 111MCFC on May 14, 2010 at 8:59am
ชอบครับจัดมาอีกน่ะครับ
Comment by mcfc-มีน on May 13, 2010 at 7:27pm
พี่มีนชอบเรื่อง แบบนี้นะ
Comment by KILL BILL on May 10, 2010 at 3:26pm
ขอบคุณครับ

© 2024   Created by thaiMCFC.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service

Text Link Ads script error: local_200939.xml is not writable. Please set write permissions on local_200939.xml.