Members

ประวัติศาสตร์ของโลกและความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ (เรียบเรียงโดย ดร.เอกรินทร์ วาสนาส่ง)


ผมได้อ่านหนังสือสองสามเล่ม เกี่ยวข้องกับโลก พลังงาน
และความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ในยุคตั้งแต่กำเนิดโลกเป็นต้นมา
ซึ่งทำให้ผมพอจะสรุปสิ่งต่าง ๆ
ที่ได้จากการอ่านมาให้ท่านได้ลองพิจารณากันหน่อย
ว่างสิ่งที่ผมกำลังนำมาเสนอต่อไปนี้กำลังบอกอะไรกับท่านบ้าง ผมจะไม่สรุป
หรือฟันธงใด ๆ กับบทความนี้เพียงแต่ต้องการนำเสนอข้อมูล และ แง่มุมต่าง ๆ
ที่่น่าสนใจมาให้ท่านได้อ่านกัน
แต่ละท่านคิดอย่างไรกับส่ิงที่ได้อ่านต่อไปนี้
รบกวนช่วยกรุณาสรุปจากความคิดของท่านแบบสั้น ๆ
ให้หน่อยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านท่านอื่น ๆ ด้วย
เป็นการแลกเปลี่ยนแนวความคิดกันนะครับ เริ่มเลยก็แล้วกัน

1.
สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ล้วนแล้วแต่ดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของตน
และของเผ่าพันธ์ของตน โดยทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นจากยีนตัวหนึ่งที่ Richard
Dawkin ผู้เขียนหนังสือ The Selfish Gene เรียกมันว่า
ยีนแห่งความเห็นแก่ตัว
บางครั้งเพื่อดำรงค์เผ่าพันธ์พ่อแม่ยินดีสละชีวิตตัวเองเพื่อให้เผ่าพันธ์คง
อยู่ แต่นั่นก็คือการส่งผ่านยีนแห่งความเห็นแก่ตัวไปยังลูกหลานรุ่นถัดไป

2. COSMOS หรือ Universe หรือ เอกภพ เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่เขียนโดย
Carl Sagan
ซึ่งยิ่งอ่านก็จะยิ่งทำให้เราเห็นว่าตัวเรานั้นมันเล็กกระจิ๋วหริว
ยิ่งกว่าอนูของฝุ่นผง เมื่อเทียบกับเอกภพ ซึ่งถ้าพิจารณาดีๆ
มันก็สามารถจะทำให้เราลดความยึดมั่นถือมั่น ความเป็นตัวกูของกู ลงไปได้
จนปัจจุบันเราเองยังไม่สามารถจินตนาการได้ว่าคำว่าเอกภพนั้นมันยิ่งใหญ่สัก
เพียงใด อาจคล้ายกับคำว่า อสงไขย ที่มันแทบจะหาจุดสิ้นสุดไม่ได้ หรือ
ความยาวนานของเอกภพ อาจยาว 1 กัปพ์

3. โลกเราอยู่ปลายๆ ของกลุ่มดาว หรือแกแลกซี่ที่เรียกว่า ทางช้างเผือก หรือ
Milky Way Galaxy ที่มีดวงอาทิตย์รวม ๆ กันกว่า 4 แสนล้านดวง (4011)
โดยเฉลี่ยแล้วกาแลกซี่หนึ่ง จะมีดวงอาทิตย์ประมาณ 1011 ดวง และในเอกภพ
มีกาแล๊กซี่กว่า 1011 กาแล๊กซี่
ถ้าอยากรู้ว่ามีดาวกี่ดวงให้เอาตัวเลขทั้งสองคูณกัน ก็จะได้ 1022 ดวง

4. เนื่องจากระยะทางระหว่างดวงดาวในเอกภาพมันไกลมาก
การจะบอกระยะทางเป็นกิโลเมตรคงจะมีศูนย์ตามท้ายยาวจนเขียนไม่ไหว
เราจึงมักจะใช้การวัดระยะทางเป็น ปีแสง คือระยะที่แสงเดินทาง 1 ปี
โดยความเร็วที่แสงเดินทางคือ 300,000 กม./วินาที

5. โลกห่างจากดวงอาทิตย์ 8 นาทีแสง หรือ 144,000,000 กม.
และห่างจากกึ่งกลางทางช้างเผือก 40,000 ปีแสง คงนึกเป็นกิโลเมตรไม่ถูกแน่ ๆ
ระยะที่เราพูดถึงกันนี้เป็นเพียงแค่ขอบ ๆ ของเอกภพเท่านั้น
ลองนึกภาพเอกภพที่ประกอบด้วย 1011 กาแล๊กซี่นั้น มันจะใหญ่สักแค่ไหน
และมันก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่การเกิด Big Bang เมื่อกว่า 13,700
ล้านปีก่อน แต่ต้องรออีก 9,100 ล้านปีถึงจะเกิดโลกขึ้น

6. อากาศของโลกยุคแรกเต็มไปด้วยก๊าซไฮโดรเจน ไฮโดนเจนซันไฟด์
คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ แอมโมเนีย และมีเทน มีประจุไฟฟ้าและไอน้ำหนาแน่น
จากการศึกษาคาดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนในช่วงนี้คือ Amino Acid
ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิต
แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังหาจุดกำเนิดที่ชัดเจนไม่เจอว่าสิ่งมีชีวิตเซลเดียว
เกิดขึ้นได้อย่างไร จนเป็นที่มาของ God Theory

7. เชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตชนิดแรกของโลกคือสัตว์เซลเดียวขนาดเล็ก อยู่ในน้ำ
กินกันเองเป็นอาหาร จากนั้นจึงพัฒนามาเป็น Anaerobic Bacteria
ที่ใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุและก๊าซในน้ำได้ โดยถ่ายออกมาเป็นก๊าซมีเทน
จากนั้นก็เกิดสิ่งมีชีวิตที่ใช้ไฮโดรเจนจากโมเลกุลน้ำ
แล้วถ่ายออกมาเป็นอ๊อกซิเจน สิ่งมีชีวิตพวกนี้เรียกว่า Cyan Bacteria
ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้บรรยากาศของโลกมี อ๊อกซิเจนมากขึ้น
และแน่นอนจะทำให้ Anaerobic Bacteria ใช้ชีวิตลำบากขึ้น
เพราะไม่ชอบอ๊อกซิเจน

8. สิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์โดยตรงน่าจะเกิดขึ้นราว 3,500
ล้านปีก่อน จะพูดง่าย ๆ ก็คือต้นตระกูลของพืชนั่นเอง ใช้คาร์บอนไดอ๊อกไซค์
ร่วมกับแสง สร้างเส้นใย แป้ง และน้ำตาล

9. ในประวัติศาสตร์โลกที่ผ่านมามีการก่อกำเนิดที่ยิ่งใหญ่ในช่วง Cambrian
Explosion คือประมาณ 530 ล้านปีที่แล้ว
ที่มีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากทั้งพืชและสัตว์กำเนิดขึ้น
รวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังเกิดขึ้นในช่วงนี้

10. ต่อมาเกิดการสูญพันธ์ขนานใหญ่ครั้งแรก เกิดขึ้นในช่วง 438 ล้านปีก่อน
ถือเป็นครั้งแรกของการสูญพันธ์ โดยคำว่าสูญพันธ์คือสัตว์เกินกว่า 90%
ตายลงพร้อมกัน สาเหตุนั้นก็ยังไม่ทราบแน่ชัด

11. หลังการสูญพันธ์ครั้งที่ 1 ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม
พืชกลุ่มแรกเริ่มเข้ายึดชายน้ำ ขอบมหาสมุทร และปากแม่น้ำ
เรียกว่าต้นกำเนิดของป่าชายเลนในปัจจุบันนี่เอง
โดยป่าชายเลนดึกดำบรรพ์นี้ก็เป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธ์ของสัตว์น้ำยุคแรก
พืชกลุ่มที่สอง ขยับขยายหนีขึ้นสู่แผ่นดิน
และสัตว์ยุคแรกที่ตามพืชขึ้นมาอยู่บนฝั่งคือ Arthropods รูปร่างคล้ายหนอน
ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของแมงในปัจจุบัน

12. เมื่อ 367 ล้านปีที่แล้ว
สิ่งมีชีวิตบนโลกก็เผชิญสภาวะสูญพันธ์ครั้งใหญ่เป็นครั้งที่ 2
ซึ่งช่วงนี้พืชบนพื้นดินมีจำนวนมากขึ้น และผลิตก๊าซอ๊อกซิเจนมากขึ้น
โดยอากาศในยุคนั้นมีก๊าซออกซิเจนสูงถึง 35% สูงกว่า 20%
ในปัจจุบันอยู่พอสมควร นี่เองเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ในยุคนั้นตัวใหญ่มาก
เช่น แมลงปอที่มีปีกกว้างถึง 3 ฟุต

13. การสูญพันธ์ยังคงเกิดตามมาอีกสองครั้งในช่วง 248 ล้านปีที่แล้ว และ 208
ล้านปีที่แล้วตามลำดับ ก่อนที่จะเข้าสู่ยุคไดโนเสาร์ครองโลก
ที่เรารู้จักกันดีว่ายุค Jurassic สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็เกิดในยุคนี้
แต่ยังเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ที่ต้องหลบลี้หนีภัยจากไดโนเสาร์

14. จนเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้วก็เกิดการสูญพันธ์ขนานใหญ่อีกครั้ง
ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธ์ไปอย่างน่าฉงนสนเท่ห์
ซึ่งสมมุติฐานที่น่าจะมีเค้ามากที่สุดก็คือทฤษฏีอุกาบาตชนโลก
ซึ่งในความเป็นจริง ไดโนเสาร์ไม่ได้หายวับไปกับตา แต่ค่อย ๆ
ล้มหายตายจากกันไป โดยเริ่มจากไดโนเสาร์ตัวใหญ่กินพืช
ไปจนถึงได้โนเสาร์กินเนื้อ โดยใช้เวลานับหมื่นปีถึงตายกันเรียบจริง ๆ

15. สิ่งมีชีวิตที่รอดมาได้ก็คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก และแมลง
ซึ่งต่อมาพัฒนาการมาเป็นลิง บรรพบุรุษของเรา ที่เริ่มอาศัยบนต้นไม้
หากินได้เก่งขึ้น
เริ่มเลือกทานอาหารที่มีสารอาหารมากขึ้นทำให้ร่างกายและสมองถูกพัฒนามากขึ้น
ตามไปด้วย

16. เมื่อ 5 ล้านปีก่อน ลิงเอพ
หรือลิงไม่มีหางเริ่มใช้สิ่งของรอบตัวเป็นอาวุธ
และนี่คือจุดเริ่มต้นของความเป็นคน คือเริ่มฆ่ากันด้วยอาวุธได้
เมื่อรู้จักฆ่ากัน หรือฆ่าสัตว์อื่น ก็เริ่มรู้จักกินเนื้อ และล่าสัตว์

17. จุดเปลี่ยนของมนุษย์อยู่ที่การรู้จักใช้ไฟ
ซึ่งไฟถูกนำมาใช้ได้สารพัดประโยชน์ ทั้งให้ความอบอุ่น ไล่สัตว์
ใช้ทำให้เนื้อสุกและย่อยง่ายขึ้นและเชื้อโรคน้อยลง
มนุษย์จึงพัฒนาสุขภาพขึ้นไปพร้อมกับการใช้ไฟด้วย

18. เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักรวมกันอยู่เป็นกลุ่ม
ก็เริ่มมีความต้องการลงหลักปักฐานสร้างครอบครัว และเริ่มรู้จักเพาะปลูก
แทนที่จะ เก็บของป่าหรือทำไร่เลื่อนลอย
โดยมนุษย์เริ่มรู้จักการทำนาเมื่อกว่า 9,000 ปีมาแล้ว

19. จุดเปลี่ยนอีกจุดหนึ่งของความมีอารยธรรมก็คือการรู้จักบันทึก
และการพัฒนาภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร เริ่มจากการวาดภาพบนฝาผนังถ้ำ
อย่างที่ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี ซึ่งแสดงถึงการล่าสัตว์ในยุคนั้น

20. จากการวาดภาพ นำมาสู่การพัฒนาภาษาเขียน
ซึ่งก็มีพื้นฐานมาจากภาษาภาพนี้เอง เช่น ภาษาเขียนแรกของโลกของชาวสุเมเรียน
ในยุคเมโสโปเตเมีย และ อักษรเฮโรกริฟฟิกส์ ของ อียิป

21.
เมื่อมนุษย์พัฒนาตัวเองมาถึงจุดหนึ่งก็เริ่มมีความสามารถในการนำแหล่ง
พลังงานจากใต้ผิวโลกมาใช้ เริ่มจากน้ำมันดิน และถ่านหิน
ซึ่งนำมาสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก
แต่มนุษย์หารู้ไม่ว่า นี่คือจุดเริ่มต้นของความหายนะของโลกอันสวยงามของเรา

22. การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นในอังกฤษช่วง พ.ศ. 2300-2440
ซึ่งเป็นช่วงที่มนุษย์รู้จักนำถ่านหินมาใช้ประโยชน์
โดยเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ผลิตไอน้ำเพื่อขับดันเครื่องจักร
สามารถผลิตสิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบอุตสาหกรรม ราคาถูกลง ผลิตได้จำนวนมาก

23. ปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง เกิดเมื่อ พ.ศ. 2443
เมื่อมีการค้นพบวิธีผลิตไฟฟ้ากระแสสลับ
และนำไฟฟ้ามาใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม และรู้จักกระบวนการแบ่งงานกันทำ
โดยผู้คิดค้นกระบวนการนี้คือ Ford ที่พัฒนาเพื่อใช้ผลิตรถยนต์ Ford Model T
และเป็นที่มาของกระบวนการอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

24. สาเหตุที่มนุษย์ต้องดินรนหาแหล่งพลังงานมาใช้ประการหนึ่งก็คือ
จำนวนประชากร ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ
เมื่อพิจารณาจำนวนประชากรจากช่วงหลังสงครามโลกจนถึงปัจจุบัน
ประชากรโลกเพิ่มจาก 2,500 ล้านคน เป็น 6,500 ล้านคน
และคาดว่าจะพุ่งขึ้นเป็น 9 พันล้านคน ปี พ.ศ. 2576

25. เมื่อมีประชากรมากขึ้นแต่ทรัพยากรลดลง
ก็ต้องมีการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติกัน มีการสู้รบ
และเกิดสงครามอยู่หลายครั้งหลายครา โดยเฉพาะสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง
สงครามเกาหลี สงครามเวียตนาม และสงครามในตะวันออกกลาง ในปัจจุบัน 1 ใน 4
ของสงครามทั่วโลกเกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรโดยเฉพาะน้ำ

26. สามในสี่ของพื้นผิวโลกเป็นน้ำเค็ม มีเพียงร้อยละ 3 ที่เป็นแหล่งน้ำจืด
โดยน้ำจืดร้อยละ 2.6 ที่ขั้วโลกทั้งเหนือใต้ และอยู่ใต้ดิน
ส่วนที่อยู่เหนือดินทั้งหมดก็เป็นเพียง 0.4%
เท่านั้นที่เราสามารถนำมาใช้ได้

27. ใครจะเชื่อว่ามนุษย์ที่ดูเหมือนจะหนาแน่ขึ้นทุกวันนั้น
ปัจจุบันเราอาศัยอยู่บนพื้นที่เพียง 12% ของพื้นดินทั้งโลก
เนื่องจากส่วนที่เหลือ อาจะเป็นป่าเขา หรือ ทะเลทราย

28. ตัวอย่างของเกาะอีสเตอร์ นอกชายฝั่งชิลี 2,300 ไมล์
อาจเป็นตัวอย่างที่น่าพิจารณาของปัญหาโลก จากหลักฐานทางโบราณคดี
พบว่าเคยมีผู้อยู่อาศัยบนเกาะถึง 1,300 คน บนเกาะขนาดกว้าง 9 ไมล์ แบ่งเป็น
12 หมู่บ้าน จนเมื่อ พ.ศ. 2317 กัปตันคุ๊ก
เป็นชาวผิวขาวกลุ่มแรกที่ไปที่เกาะแห่งนี้ และพบว่าทั้งเกาะมีประชากรไม่ถึง
500 คน และผู้คนบนเกาะก็อยู่อย่างอดอยาก หลายคนอยู่ในสภาพใกล้ตาย
นี่อาจเป็นสัญญาณบางอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรโดยไม่บรรยบรรยัง
จนในที่สุดทรัพยากรทั้งหมดก็หมดไป
คนที่อยู่ก็เริ่มอดอยากและตายตามกันไปในที่สุด วันที่กัปตันคุ๊กไปถึง
แทบจะหาต้นไม้ใหญ่ ๆ ไม่ได้สักต้นเดียว

29. ใครทราบบ้างว่าการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจก
มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้อย่างชัดเจน
โดยตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 พืชและสัตว์สูญพันธ์สูงขึ้น 50-100
เท่าของการสูญพันธุ์ตามธรรมชาติ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,000-10,000
เท่าในศตวรรษที่ 21

30.
สรุปได้ว่าปัญหาของโลกเกิดจากความแตกต่างกันของมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนใน
ประเทศที่พัฒนาแล้ว กับประเทศกำลังพัฒนา นั่นเอง

31. ไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5
ของโลกที่มีความแตกต่างของรายได้ ระหว่างคนรวยกับคนจนมากที่สุด
รองมาจากกัวเตมาลา บราซิล ฮอนดูรัส และ ชิลี

หวังว่าข้อมูลที่ผมนำเสนอเหล่านี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างไม่มากก็น้อย
ในการพิจารณาสรรพสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป
ตามวัฒจักรของธรรมชาติ
เครดิต http://technoforlife.ning.com/profiles/blogs/3576352:BlogPost:6339

Views: 475

Comment

You need to be a member of Manchester City Fan Club in Thailand Website to add comments!

Join Manchester City Fan Club in Thailand Website

Comment by KILL BILL on May 10, 2010 at 2:12pm
ขอบคุณครับ

© 2024   Created by thaiMCFC.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service

Text Link Ads script error: local_200939.xml is not writable. Please set write permissions on local_200939.xml.