Members

ตามหัวข้อเลยครับผม

 

ขอบคุณครับสำหรับความร่วมมือ

Views: 1112

Attachments:

Reply to This

Replies to This Discussion

แนบไฟล์กลับมาด้วยนะครับ^^

ขอบคุณครับ
1.คุณคิดว่าปัญหา ขยะภายในโรงเรียน เป็นเรื่องที่สำคัญหรือไม่เพราะเหตุใด
สำคัญแน่นอนครับ เพราะ สมมุติว่าทุกคนทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางก็คงจะมีขยะเพิ่มขึ้นอีกมาก
ถ้าคนหนึ่งคน คิดว่าไม่เป็นไรไม่ใช่หน้าที่ของเรา ต่อหนึ่งคนก็คงมีขยะเพิ่มขึ้นอีกคนล่ะ 1 ชิ้น
แล้วถ้าคนสัก 100 คิดอย่างนี้ ก็จะมียะเพิ่มขึ้นอีกมากแค่ไหนครับ ?

2.คุณคิดว่าคนอื่นในชุมชนจะคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญหรือไม่ เพราะเหตุใด
สำคัญครับผม เพราะถ้าชุมชนนั้นๆ ไม่มีรู้จักการทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง แล้วก็
อาจจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวด้วย ถ้าชุมชนนั้นๆดูสะอาดตานักท่องเที่ยวก็จะมีเพิ่มขึ้น
และอาจจะทำให้ เศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้นอีกด้วย

3.ในปัจจุบันมีนโยบายอะไรที่รัฐบาลใช้จัดการกับปัญหานี้

ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ได้กำหนด “ยุทธศาสตร์
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ การเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อม ชุมชนและการจัดการปัญหามลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศไทย คือ การจัดการขยะ ซึ่งในแผนฯ 9 ได้ระบุเป้าหมายไว้ คือ จัดให้มีการกำจัดและลดกากของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรมและชุมชนโดยมีอัตรา เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 50 และ นำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 30
การเพิ่มขึ้นของขยะ ซึ่งแต่เดิมจะเกิดขึ้นเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ เป็นต้น แต่ปัจจุบันปัญหานี้ได้ขยายวงกว้างมากขึ้นในทุกเขตเมือง โดยแปรตามกับความเจริญและการขยายขนาดของเมือง ซึ่งสภาพเศรษฐกิจยิ่งดีมากขึ้นเท่าไรปัญหาขยะก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้การจัดการขยะด้วยการฝังกลบเป็นส่วนใหญ่ และมีปัญหาการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ที่มีการฝังกลบเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่อยากให้อยู่ใกล้ชุมชนของตนเองถึงแม้จะมีการจัดการที่ดีเพียงใด ก็ตาม ในด้านการกำจัดขยะโดยใช้วิธีเผาในปัจจุบันต่างประเทศได้หันมาใช้วิธีนี้กัน มากขึ้น เช่น ในญี่ปุ่นและยุโรป แต่ก็มีปัญหาเรื่องการเกิดมลพิษและมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ในหลายประเทศจึงได้หันมาใช้วิธีนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือรีไซเคิล (Recycle) ซึ่งได้ผลดี เช่นที่ สหรัฐอเมริกา และเยอรมัน สามารถ รีไซเคิลได้ประมาณร้อยละ 80 ฉะนั้นแนวทางใหม่ในการจัดการขยะโดยการรีไซเคิลน่าจะมีประสิทธิภาพดีสำหรับ ประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันมีปริมาณขยะเกิดขึ้นประมาณ 14.32 ล้านตัน/ปี มีการจัดเก็บ 11.62 ล้านตัน/ปีและมีการกำจัดที่ถูกต้องเพียง 5 ล้านตัน/ปี หรือร้อยละ 35 โดยประเทศไทยมีโรงกำจัดขยะประเภทฝังกลบ 98 แห่ง และประเภทเตาเผาขยะ 3 แห่ง ทั้งนี้มีการรีไซเคิลขยะ 6.3 ล้านตัน หรือร้อยละ 18 เท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วศักยภาพของขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลควรจะมีมากกว่านี้ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเรียกคืนได้ และกากอุตสาหกรรมที่สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ ซึ่งมีการนำกลับมาใช้เพียงร้อยละ 20 ดังนั้นจึงมีประเด็นว่าทำอย่างไรจะสามารถบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากกว่าในปัจจุบัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการรีไซเคิลขยะในชุมชนของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและพลังงาน จึงได้จัดทำการศึกษาและจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง “นโยบายการจัดการขยะ” ของไทยเพื่อเสนอต่อสภาที่ปรึกษาฯ และต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลใช้เป็นทางเลือกในเชิงนโยบายในการจัดการขยะให้บรรลุเป้าหมาย ตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ต่อไป
2. การดำเนินการของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาฯ โดยคณะทำงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ได้มีการดำเนินการศึกษาดังนี้ (1) ศึกษาข้อมูล กฎหมาย ระเบียบ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะ (2) จัดสัมมนากลุ่มย่อยโดยเชิญนักวิชาการ ผู้แทนองค์กรภาคประชาชน ผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และนักธุรกิจที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการขยะมาให้ความเห็นจำนวน 3 ครั้ง (3) จัดประชุมสัมมนาใหญ่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน หน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ จำนวน 2 ครั้ง (4) ศึกษาดูงานการจัดการขยะรีไซเคิลที่บริษัทวงศ์พาณิชย์ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งคณะทำงานวิทยาศาสตร์ฯ ได้นำความรู้และความคิดเห็นที่ได้มาประมวลและสังเคราะห์ เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง นโยบายการจัดการขยะของไทยเสนอต่อสภาที่ปรึกษาฯ และคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. ปัญหาและแนวโน้มการจัดการขยะของประเทศไทย
ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนาต่างให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีการเชื่อมโยงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับมาตรการด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการค้าระหว่างประเทศ เช่น ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ได้ใช้มาตรฐานสากล ISO 14000 หรือประเทศสหรัฐอเมริกามีการกีดกันสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกระแสโลกาภิวัตน์ที่กระตุ้นให้กลุ่มพลังต่าง ๆ สนใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ ปัญหาการจัดการขยะ ซึ่งการจัดการขยะของประเทศไทยควรจะต้องควบคุมปริมาณการผลิตขยะทั้งจากภาค ชุมชนและภาคอุตสาหกรรม โดยการส่งเสริมให้มีการลดปริมาณขยะ ทั้งนี้เนื่องจากการนำขยะที่ยังใช้ได้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง จะส่งผลดีต่อการลดการใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติในการผลิตสินค้าขึ้นใหม่ รวมตลอดจนถึงการลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะและลดปัญหาด้านสถานที่กำจัดขยะ ในภาพรวมปัญหาด้านการจัดการขยะของประเทศไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
3.1 การกำจัดขยะจากชุมชน ขยะอันตรายจากภาคอุตสาหกรรมขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาล ขยะจากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และขยะอันตรายจากต่างประเทศ แม้จะมีการดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่ในภาพรวมแล้วการกำจัดขยะส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน กล่าวคือ
3.1.1 การกำจัดขยะจากชุมชนหลายแห่งดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและการ รักษาสิ่งแวดล้อม มีการกองทิ้งกลางแจ้ง ปล่อยให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง หนู และสัตว์นำโรค รวมทั้งส่งกลิ่นเหม็นรบกวนต่อชุมชน
3.1.2 การกำจัดขยะจากภาคอุตสาหกรรมที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
ยังดำเนินการไม่ทั่วถึง โดยในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมผลิตขยะไม่อันตรายประมาณ 3 ล้านตันต่อปีและขยะอันตรายประมาณ 1.24 ล้านตันต่อปี แต่มีการนำไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาลไม่เกิน 5 แสนตันต่อปี หรือ 40% ของทั้งหมด ซึ่งแสดงว่าขยะอันตรายจากภาคอุตสาหกรรมจำนวนมากไม่ได้ถูกกำจัด อย่างถูกต้อง
3.1.3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ขาดศักยภาพในการจัดการขยะติดเชื้อ โดยพบว่าสถานพยาบาลส่วนใหญ่โดยเฉพาะภาคเอกชนไม่มีเตาเผาขยะติดเชื้อของตนเอง กล่าวคือ การกำจัดขยะติดเชื้อยังไม่ครบทุกแหล่งกำเนิด และการรวบรวมขยะติดเชื้อของสถานพยาบาล ยังทำไม่ถูกวิธี ทำให้ขยะติดเชื้อบางส่วนปะปนกับขยะทั่วไป
3.1.4 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์หรือสิ่งของที่ถือว่าเป็นขยะอันตรายจาก ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าภายในประเทศ โดยขาดการควบคุมที่รัดกุม ซึ่งวัสดุเหลือใช้จากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นขยะอันตรายต่อสาธารณะ
3.1.5 การศึกษาวิจัยในห้องปฎิบัติการของหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชนและสถาบัน อุดมศึกษาต่างๆ มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจมีการระบายสู่สาธารณะโดยที่ยังไม่มีการกำจัดที่ถูกต้องตามหลัก สุขาภิบาล
3.2 อัตราการผลิตขยะทุกประเภทของประชาชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งการผลิตขยะในภาคธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรม มีอัตราเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจาก
3.2.1 ยังไม่มีการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ในการจูงใจให้ประชาชน โรงเรียน สถาบันการศึกษา ชุมชน และธุรกิจเอกชน ลดปริมาณขยะและส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
3.2.2 ยังไม่มีมาตรการส่งเสริมธุรกิจรับซื้อคืน ซากบรรจุภัณฑ์ และวัสดุ เหลือใช้ที่มีการใช้อย่างฟุ่มเฟือยหรือกำจัดยาก
3.2.3 ยังไม่มีมาตรการของรัฐตามหลักการ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่ชัดเจน เพื่อจูงใจให้ลดปริมาณขยะและส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
3.3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ประสบปัญหาการกำจัดขยะ ดังนี้
3.3.1 ไม่มีสถานที่กำจัดขยะจากชุมชน เนื่องจากมีการต่อต้านจากประชาชนที่ไม่ต้องการอยู่อาศัยใกล้กับสถานที่กำจัดขยะ
3.3.2 งบประมาณมีไม่เพียงพอในการจัดซื้อที่ดิน วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยี
ในการจัดการขยะให้ถูกหลักสุขาภิบาล
3.3.3 ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญในการบริหารจัดการขยะ
3.4 โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากมีการทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมจากกระบวนการผลิตออก สู่ภาวะแวดล้อม ทั้งที่กากของเสียดังกล่าวอาจเป็นประโยชน์กับโรงงานอุตสาหกรรมแห่งอื่น
3.5 กฎหมายด้านการจัดการขยะกำหนดให้มีหลายหน่วยงานรับผิดชอบในเรื่องขยะ ทำให้ประชาชนหรือเอกชนซึ่งต้องถูกบังคับใช้ตามกฎหมายเกิดความสับสน เกิดพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากกฎเกณฑ์ของสังคม ส่วนเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดการขยะมีความสับสนไม่แน่ใจใน อำนาจหน้าที่ รวมทั้งมีปัญหาการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและ ส่วนท้องถิ่นในการจัดการขยะ
3.6 เทคโนโลยีเพื่อการจัดการขยะยังมีราคาแพงและกระบวนการผลิตที่สะอาด ยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย กล่าวคือ
3.6.1 เทคโนโลยีสำหรับกำจัดขยะในปัจจุบันที่ใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทยปัจจุบัน เช่น การฝังกลบ การใช้เตาเผา และการหมักทำปุ๋ย เป็นต้น ยังมีราคาแพงและมีลิขสิทธิ์จาก
ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนของไทย จึงจำเป็นต้องจัดหาเทคโนโลยีที่มีราคาถูกและสามารถกำจัดขยะได้ถูกหลัก สุขาภิบาลตามที่กรมควบคุม มลพิษกำหนด
3.6.2 โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังไม่นำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ในกระบวนการผลิต ทำให้มีการสิ้นเปลืองพลังงานและเพิ่มกากของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นพิษต่อสิ่ง แวดล้อม
3.7 ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชนยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะร่วมกับภาครัฐอย่างเพียงพอ
3.8 ประชาชนโดยทั่วไปยังขาดองค์ความรู้ในการจัดการขยะตั้งแต่การคัดแยกขยะ การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ และการจัดตั้งธนาคารขยะ รวมทั้งความรับผิดชอบและการมีวินัยในเรื่องขยะต่อส่วนรวม
4. ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ เรื่อง นโยบายการจัดการขยะของประเทศไทย
ในภาพรวมเนื่องจากปัจจุบันมีปริมาณขยะเกิดขึ้นปีละประมาณ 14.32 ล้านตัน โดยมีการกำจัดที่ถูกต้องเพียง 5 ล้านตัน หรือร้อยละ 35 และมีการนำขยะมารีไซเคิลเพียงร้อยละ 18 ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากประเทศไทยยังขาดโรงงานกำจัดขยะอีกเป็นจำนวนมากและการ รีไซเคิลขยะยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้นรัฐบาลทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดหาพื้นที่สำหรับ กำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกหลักสุขาภิบาลและสัมพันธ์กับปริมาณขยะ พร้อมทั้งดูแลชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโรงกำจัดขยะให้อยู่ได้อย่างปกติสุข และยั่งยืนสภาที่ปรึกษาฯ มีความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในเรื่อง การจัดการขยะ ดังนี้
4.1 รัฐบาลควรเร่งส่งเสริมด้านการพัฒนาระบบกำจัดขยะจากชุมชน ขยะจากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ขยะอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม ขยะติดเชื้อ และขยะอันตรายจากต่างประเทศให้ได้มาตรฐาน ทั่วประเทศ ดังนี้
4.1.1 รัฐควรมีมาตรการกำจัดขยะจากชุมชนให้ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึง โดยเร่งสำรวจสถานการณ์การกำจัดขยะจากชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุก แห่ง และกำกับดูแล การจัดเก็บขยะให้ทั่วถึง พร้อมทั้ง จัดให้มีระบบติดตามให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ วัสดุอุปกรณ์และ งบประมาณ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพในการจัดเก็บรวบรวม และกำจัดขยะในชุมชนให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและเหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น นอกจากนี้องค์ประกอบของขยะจากชุมชนโดยทั่วไปควรจะมีเป้าหมายให้มีขยะซึ่ง สามารถย่อยสลายได้มากกว่า 50 % ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดทำปุ๋ยจุลินทรีย์จากขยะสดที่สามารถย่อยสลายได้ และควรประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นทดแทนการนำเข้าสาร เคมีจากต่างประเทศ
4.1.2 รัฐควรมีมาตรการกำจัดขยะจากภาคอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึง โดยรัฐบาลควรเร่งติดตามตรวจสอบแหล่งกำเนิดขยะอุตสาหกรรมทุกแห่งให้ส่งขยะ อุตสาหกรรมไปกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและเป็นไปตามกฎหมาย โดยส่งไปสถานที่ได้รับอนุญาตกำจัดขยะ อุตสาหกรรม นอกจากนี้รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีโรงงานกำจัดขยะกระจายตัวอยู่ตามจังหวัด ต่างๆ ที่มี โรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่น เพื่อเป็นแหล่งรองรับการรีไซเคิลของเสียจากภาคอุตสาหกรรม
4.1.3 รัฐบาลควรเคร่งครัดในการตรวจสอบการกำจัดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลและสถาน พยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พร้อมในการจัดการขยะติด เชื้อ รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรกำหนดมาตรการในการกำจัดขยะติดเชื้อให้มีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลัก สุขาภิบาล รวมทั้งให้การฝึกอบรมในขณะเดียวกันต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นในแต่ละจังหวัดรวมตัวกัน จัดให้มีระบบกำจัดขยะติดเชื้ออย่างครบวงจร ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมีราคาถูกและไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหรือ เหตุรำคาญต่อประชาชน สำหรับด้านเทคนิควิชาการนั้น กระทรวงสาธารณะสุขต้องให้การสนับสนุนด้านวิชาการ เทคนิคการจัดการและสนับสนุนการฝึกอบรม ในด้านสถานพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐควรให้เงินงบประมาณอุดหนุนในการกำจัดขยะติดเชื้อตามความจำเป็น และส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนทำธุรกิจกำจัดขยะติดเชื้อ เพื่อแบ่งเบาภาระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.1.4 ปรับปรุงมาตรการควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เป็นขยะอันตรายจากต่างประเทศ โดยรัฐบาลควรมีมาตรการควบคุมการนำเข้าขยะอันตรายจากต่างประเทศ รวมทั้งกำหนดมาตรการให้ผู้นำเข้าขยะอันตรายต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการ กำจัดขยะอันตรายอย่างเคร่งครัด
4.1.5 ปรับปรุงมาตรการ กฎหมายและระเบียบ ในการกำจัดขยะอันตรายจากการศึกษาวิจัยและทดลองในห้องปฎิบัติการต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลก่อนระบายสู่สาธารณ
4.2 รัฐบาลควรพิจารณาใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายเพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการนำขยะกลับ มาใช้ประโยชน์ใหม่ ดังนี้
4.2.1 การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อลดปริมาณขยะและเพิ่มปริมาณการรีไซเคิลขยะ อาทิ
1) พิจารณาใช้มาตรการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ (Surcharge) กับผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีซากของเสียอันตรายและธุรกิจหรือ อุตสาหกรรมที่ใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือยหรือกำจัดยาก แล้วนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อรับซื้อคืนซาก เช่น แบตเตอรี่เก่า แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่เก่า ถ่านไฟฉาย และขวดบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
2) ส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะและจัดตั้งธนาคารขยะในชุมชน โรงเรียน และจัดให้มีกองทุนสนับสนุนการดำเนินงานธนาคารขยะทุกชุมชน โรงเรียน และสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรหรือเครือข่ายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลด ปริมาณขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
3) ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรแก่ภาคเอกชนที่เข้ามาดำเนินธุรกิจ
ด้านการจัดการขยะ เช่น การทำปุ๋ยอินทรีย์จากขยะ วัสดุรีไซเคิล การผลิตพลังงานความร้อนและเชื้อเพลิงจากขยะ เป็นต้น
4.2.2 การใช้มาตรการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อจูงใจให้มีการลดปริมาณขยะและส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ พร้อมทั้งควรประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชน กลุ่มผู้เกี่ยวข้องเข้าใจหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย โดยกำหนดมาตรการ ดังนี้
1) เพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บรวบรวม กำจัดขยะจากกลุ่มผู้มีส่วนที่ก่อให้เกิดขยะ ซึ่งค่าธรรมเนียมที่กำหนดขึ้นดังกล่าวต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงต่อการ เก็บรวบรวม และกำจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาคธุรกิจเอกชนที่ดำเนินธุรกิจ ด้านนี้
2) เพิ่มอัตราค่าปรับผู้ที่ลักลอบทิ้งขยะหรือกำจัดขยะไม่ถูกวิธี เพื่อเป็นกรอบในการควบคุมพฤติกรรมผู้เกี่ยวข้อง
4.3 สนับสนุนให้จังหวัดมีศูนย์รวมกำจัดขยะจากชุมชน
4.3.1 รัฐบาลต้องส่งเสริมให้ทุกจังหวัดจัดทำผังเมืองเพื่อเตรียมพื้นที่ไว้สร้าง สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งอย่างน้อยต้องเพียงพอรองรับการกำจัดขยะในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยอาจสร้างกลไกให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลาย ๆ แห่งร่วมกันจัดหาสถานที่กำจัดขยะดังกล่าว
4.3.2 ให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงพอในการ จัดซื้อที่ดิน วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีในการจัดการขยะให้ถูกหลักสุขาภิบาล ตลอดจนฝึกอบรมบุคลากรให้มีความชำนาญในการจัดการขยะ
4.3.3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้สวัสดิการพิเศษกับชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้สถานที่กำจัดขยะเพื่อให้ เกิดความยั่งยืนด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่ง กำจัดขยะ
4.3.4 รัฐควรเป็นตัวกลางในการแจ้งราคารับซื้อคืนขยะต่อสาธารณะผ่านสื่อต่างๆ ดังเช่น ราคาพืชผลการเกษตร เป็นต้น
4.4 สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแลกเปลี่ยนกากอุตสาหกรรมสภาที่ปรึกษาฯ พบว่าสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสภาอุตสาหกรรมได้ เป็นหน่วยงานนำร่องในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแลกเปลี่ยนกากอุตสาหกรรม ซึ่งจะส่งเสริมให้กลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนกากของเสียกัน เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบของอีกโรงงานหนึ่ง อันเป็นการลดขยะมีพิษลงได้มาก จึงขอเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแลกเปลี่ยนกากของเสีย อุตสาหกรรม พร้อมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนกากอุตสาหกรรม
4.5 ปรับปรุงองค์กรและกฎหมายรับผิดชอบการจัดการขยะ ดังนี้
4.5.1 เนื่องจากในปัจจุบันกรมโรงงานมีอำนาจในการออกใบอนุญาตโรงงานอุตสาหกรรม ในขณะที่กรมควบคุมมลพิษมีอำนาจกำกับดูแลปัญหามลพิษ และในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท ก็มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการขยะให้กับชุมชน แต่ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงที่เป็นองค์กรกลางที่มีอำนาจหน้าที่ใน การกำหนดนโยบายและแก้ปัญหาขยะทั้งระบบ ดังนั้น รัฐควรจัดตั้งองค์กรกลางในการกำกับดูแลนโยบายการแก้ปัญหาขยะทั้งระบบ และการให้คำปรึกษาแนะนำด้านเทคนิควิชาการจัดการขยะแก่องค์กรต่างๆ
4.5.2 รัฐควรปรับปรุงกฎหมายด้านการจัดการขยะ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ประกอบการ คัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ และควรจัดให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในการจัดการขยะให้ เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
4.6 พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการขยะและส่งเสริมกระบวนการผลิตที่สะอาด ดังนี้
4.6.1 สนับสนุนการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีกำจัดขยะที่มีราคาถูกและเหมาะสมกับประเทศไทย และเทคโนโลยีการผลิตวัสดุทดแทนสินค้าที่กำจัดยาก เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายกำจัดขยะแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.6.2 ส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้ใช้เทคโนโลยีสะอาด(clean technology) สภาที่ปรึกษาฯ มีความเห็นว่า รัฐควรส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ให้ใช้เทคโนโลยีที่สะอาดในกระบวนการผลิต โดยลดการใช้พลังงาน ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม และปริมาณของเสียจากกระบวนการผลิต
4.7 ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะสภาที่ปรึกษาฯ มีความเห็นว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะเป็นกลไกที่มีความสำคัญในการจัดการ ขยะ รัฐบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมในการจัดการขยะ ตั้งแต่การเปิดเผย ข้อมูลข่าวสาร การให้ร่วมตัดสินใจ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการติดตาม และกำกับการดำเนินงาน ซึ่งหลักการการให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของรัฐเป็นหลักการหนึ่ง ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติไว้ นอกจากนี้รัฐควรส่งเสริมให้แต่ละชุมชนมีวันเก็บขยะพิษจากชุมชนทุกสัปดาห์ เช่นหลอดไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย เป็นต้น
4.8 รัฐควรส่งเสริมให้มีการสอน และฝึกอบรมในเรื่องวินัยการจัดการขยะ การคัดแยกขยะ และการกำจัดของเสียที่ถูกวิธีให้แก่ชุมชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม เช่น การสอนและฝึกอบรมให้กับนักเรียนในโรงเรียน เยาวชน ประชาชน ในชุมชน เกษตรกร และอุตสาหกร ให้มีองค์ความรู้ในการจัดการขยะ การคัดแยกขยะ การกำจัดขยะและการกำจัดของเสีย การจัดทำหลักสูตรด้านการจัดการขยะ ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างวินัยในการกำจัดขยะและของเสียในชุมชนต่างๆ และเป็นการทั่วไป เป็นต้น

ขอบคุณครับ^^
ยินดีครับ
ขอชื่อด้วยครับ
เจมส์ ครับ
เอ่อผมจะเอาไปลงในแบบสอบถามในส่วนของผู้รับแบบสอบถามอะครับ(เอาเป็นบทบาทหน้าที่ในสังคมก็ได้คับ)ขอบคุณคับ
น้ำใจงาม...เมื่อยามขวานบิ่น...เกี่ยวกันไหมเจม....เก่งมากน้องรัก...เผื่อแผ่....จะได้กุศล...

คุณครูมามะเคยทันเจมสักที.....นี่แหละผลของการตั้งใจเรียน...และมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์...

โดยเฉพาะชาวเรือใบด้วยกัน...อิอิ....น่ารักมาก...คุณครูยกนิ้วให้....นิ้ว..โป้ง....เยี่ยมยอด..
แหะๆ ขอบคุงครับ อะไรช่วยได้ก้อช่วยกันไปครับ ^ ^
ตาลายเลยเรา
เจมส์ตอบดีแล้วอะ

RSS

© 2024   Created by thaiMCFC.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service

Text Link Ads script error: local_200939.xml is not writable. Please set write permissions on local_200939.xml.