Members

ที่มาที่ไป ทำไมถึงมาเป็น 4G

ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Cellular นั้นได้มีการพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง จนยุคล่าสุดนี้เราเรียกได้ว่าเป็นยุคที่ 4 หรือเรามักจะเรียก กันติดปากว่า 4th
Generation
หรือ 4Gโดยเทคโนโลยีรุ่นแรก หรือ 1G นั้น
ทำกันบนพื้นฐานของการส่งสัญญาณเสียงในรูปแบบ
Analog ระหว่างเครื่องลูก
ข่าย และส่งได้เฉพาะเสียงเพียงอย่างเดียว


ยุคที่ 2 หรือ ที่เรามักเรียกกันว่า 2Gซึ่ง
บ้านเราก็เคยใช้กันอยู่ในช่วงแรก ๆ
เริ่มมีการนำการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลเข้ามาใช้
และเริ่มมีการส่งข้อมูลที่ไม่ใช่เสียงได้
แต่ยังคงเน้นไปที่การส่งสัญญาณเสียงมากกว่า โดยมาตรฐานสำหรับระบบ
2G ก็คือ GSM และ CDMA ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งในยุคที่สองนี้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดอยู่แค่ 9.6 kbps เท่านั้น
ซึ่งถ้าจะเทียบกับในปัจจุบันคงเทียบกันไม่ได้แล้ว


จาก 2G ก็ ได้มีการอัพเกรดขึ้นมาเป็น 2.5G โดยการนำเทคโนโลยี
ใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น เช่นค่าย
GSM ก็มีการนำเทคนิคของ
GPRS (General Packet Radio Service) เข้ามาใช้
ทำให้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้น คือ
40 kbps ก่อนที่ทางค่าย
GSM จะได้พัฒนาโครงข่าย EDGE (Enhanced Data rates for GSM Evolution)ขึ้น
ทำให้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ก้าวสู่ยุคที่เรียกว่า
2.75G โดยมีความเร็วที่
สูงกว่า
GPRS ถึงกว่า 4เท่าคือที่ประมาณ 200-400 Kbps แต่ในบางพื้นที่ถ้าหากใช้ EDGE ไม่ได้


โทรศัพท์ส่วนมากก็จะเปลี่ยนไปใช้ GPRS เอง
ช่วยให้การรับส่งข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือทำได้ต่อเนื่องขึ้น ทั้งการเข้า

WAP และ WEB การรับส่ง MMS, Video/Audio Streamingและ Interactive Gaming
และ เป็นก้าวสำคัญเพื่อเข้าสู่ยุค 3G ในที่สุด สำหรับประเทศไทยเราในขณะนี้ ก็ถือว่าอยู่ที่ 2.75G และกำลังจะก้าว
กระโดดไปที่
3.9G!!! สำหรับ ค่าย CDMA ก็ถือได้ว่าล้ำหน้ามาแต่ต้น เพราะได้พัฒนาเทคโนโลยี ที่เรารู้จักกันใน ชื่อ1XRTT หรือ 1X หรือ EVDO ที่สามารถส่งข้อมูล ได้ด้วยความเร็วถึง 600
kbps –1.4 Mbps
ซึ่งสูงกว่าของทางค่าย GSM ด้วยซ้ำ สำหรับคำว่า 3G นั้น
จะต้องสามารถทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้สูงกว่า
2 Mbps ขึ้นไป ซึ่งทั้งค่าย CDMA และ GSM ก็ได้พัฒนา
เทคโนโลยีขึ้นบนพื้นฐานของตัวเอง อย่าง
CDMA ก็ออก CDMA2000 1X, CDMA2000 EV-DO Rev. 0, CDMA2000 EV-DO Rev. A, และ CDMA2000 EV-DO Rev. B ซึ่งทำให้มีความ เร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 2 Mbps ยกตัวอย่างเช่น
CAT CDMA ซึ่งถือได้ว่าเป็นค่าย 3G ที่ถูกกฎหมาย 1ใน 2 รายในประเทศไทย โดย
CAT เลือกพัฒนาโครงข่ายบนพื้นฐานของ CDMA โดย
สามารถทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้ถึง
2.4 Mbps ก็ถือได้ว่าเป็นระบบ 3Gแล้ว
พูดง่าย ๆ คือ ถ้าเห็นคำว่า
CDMA EV-DO มันก็คือระบบ 3G แล้วนั่นเอง


ส่วนค่าย GSM นั้น ถ้าจะดูว่ารองรับ 3Gหรือไม่ก็จะต้องสังเกตคำว่า HSPA (High Speed Packet Access) ซึ่งประกอบด้วยส่องส่วน HSDPA (Download) และ HSUPA (Upload) และกำลังจะอัพเกรดขึ้นเป็น HSPA+ หรือTurbo 3G ที่ทาง กทช. (สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) กำลังเรียกมันว่า 3.9G นั่นเอง โดยบันไดขั้นต่อไป ก็คือการก้าวสูงระบบ 4G ที่ เราหลาย ๆ คนกำลังรอคอยการมาถึงกันอยู่ ในปัจจุบันผู้ให้บริการ 3G อย่างถูกกฎหมายจริง
ๆ บนพื้นฐานของค่าย
GSM ในประเทศไทยมีเพียงรายเดียว ก็คือ TOT 3G ซึ่ง ในขณะนี้ก็สามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 7.2 Mbps และกำลังจะอัพเกรดขึ้นไปได้ถึง 14.4 Mbps

ซึ่งเท่าที่ตัวผมเองใช้งานอยู่ก็ถือว่าเร็วเพียงพอที่จะทำงานนอกสถานที่ได้อย่างสะดวกสบาย และรวดเร็วเพียงพอ


สำหรับ 4G เอง นั้น ก็ยังคงเป็นการแข่งขันกันระหว่างสองค่าย โดยค่ายแรกก็คือ GSM ที่ได้พัฒนา
LTE หรือ Long Term Evolution ขึ้นบนพื้นฐานของโครงการ 3GPP (3rdGeneration
Partnership Project)
ส่วนอีกค่ายก็คือ WiMax ซึ่งพัฒนาขึ้นบน
มาตรฐานที่ร่างโดย
IEEE สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองค่ายก็คือ เป็นการสื่อสารข้อมูลผ่านโครงข่ายบนพื้นฐานของ IP (Internet Protocol) เหมือนกับอินเทอร์เน็ท TCP/IP โดย ยืนอยู่บนพื้นฐานของเทคนิคที่เรียกว่า Orthogonal Frequency-Division Multiple Access (OFDMA) ซึ่งเป็นเทคนิคที่
ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี
1960 ซึ่ง OFDMA นั้นก็มีพื้นฐานเดียวกับ Frequency-division
Multiplex
ซึ่งเป็นวิธีที่จะส่งข้อมูลดิจิตอลจำนวนมาก ๆ ผ่านช่องทางความถี่ที่ถูกแบ่งให้ละเอียดขึ้น โดยกระบวนการก็คือ
ก่อนการส่งนั้น ข้อมูลดิจิตอลที่มี จะถูกแบ่งออกเป็นชิ้นเล็กๆและถูกแยกกันส่งออกไปผ่านช่องสัญญาณต่าง ๆ
ก่อนจะถูกนำกลับมาประกอบกันอีกครั้งที่ปลายทาง


ส่วนสิ่งที่ต่างกันของทั้งสองค่ายก็คือกระบวนการในการบริหาร จัดการช่องสัญญาณ ในการส่งข้อมูล กระบวนการของ WiMax นั้น ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งผ่านไปในช่องสัญญาณที่กว้างกว่า โดยแบ่งช่องสัญญาณเพื่อการดาวน์โหลดถึง 2 ใน 3 ส่วน อัพโหลดก็จะเหลือเพียง 1

ใน 3 ในขณะที่ LTE จะทำการแบ่งช่องสัญญาณออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กันโดยใช้ Frequency-division Multiplex ทำให้อัตราการดาวน์โหลดกับอัพโหลด จะมีค่าใกล้เคียงกัน


แต่ถ้าจะให้บอกตรง ๆ ว่าใครดีกว่ากันระหว่าง LTE กับ WiMax นั้นก็คงตอบได้ยาก มันขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ที่ไหน และมีโครงข่ายไหนให้เราใช้ได้สะดวกกว่ากันมากกว่า ส่วนที่ว่าบ้านเราจะใช้
4G นั้นคงยังไม่ต้อง พูดถึง เพราะขนาดผู้นำของโลกอย่างสหรัฐเอง ถนน 4G ก็ยังดูเหมือนจะ เป็นถนนลูกรังที่ฝุ่นตลบอยู่เลย บ้านเราเองก็คงอีกไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี ค่อยมาพูดคุยกันใหม่จะดีกว่า เอา 3.9G ให้รอดเสียก่อนจะ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศนะครับ

ที่มา : http://technoforlife.ning.com/profiles/blogs/3576352:BlogPost:6870

Views: 169

Comment

You need to be a member of Manchester City Fan Club in Thailand Website to add comments!

Join Manchester City Fan Club in Thailand Website

© 2024   Created by thaiMCFC.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service

Text Link Ads script error: local_200939.xml is not writable. Please set write permissions on local_200939.xml.