Members

ความเป็นมาของแมนเชสเตอร์ ซิตี้

ความเป็นมาของแมนเชสเตอร์ ซิตี้

ลำดับเวลา

ข้อเท็จจริงและรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในหน้าประวัติศาสตร์สโมสรซิตี้ ที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ผ่านช่วงเวลาทั้งช่วงขาขึ้นและขาลง 

 

ช่วงทศวรรษ 2000

ค.ศ. 2000 (พ.ศ.2543) ซิตี้ได้กลับเข้ามาเล่นในพรีเมียร์ชิพ การทำสกอร์ 4-1 ปราบแบล็คเบิร์นที่สนามอีวู้ด พาร์ดได้เป็นเครื่องหมายว่าจะมีการโปรโมชั่นตามมาเมื่อทีมเรือใบสีฟ้าได้รับการสนับสนุนอย่างท้วมท้น 

 

ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ว่าที่่ผู้จัดการทีม สจ๊วต เพียซ์ ได้นำทัพซิตี้เมื่อมีการโปรโมททีมหลังจากที่ได้กลับเข้าไปเล่นในพรีเมียร์ ชิพ และได้ทำลายสถิติในการทำประตูที่มากสุดของสโมสร แถมยังได้แต้มเพิ่มในฤดูกาลอีกด้วย 

 

ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) การอำลาอาลัยสนามเมน โร้ด ที่เป็นสนามเหย้าของทีมแมนฯ ซิตี้มา 80 ปี โดยเกมการแข่งขันนัดสุดท้ายตรงกับวันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม ชิงชัยกับเซาท์แฮมตัน โดยสโมสรจะย้ายไปปักหลักอยู่ที่สนามกีฬาเมืองแมนเชสเตอร์ ซึ่งสามารถจุคนได้ 48,000 คน 

 

ค.ศ. 2007 ( พ.ศ.2550) สเว็น กอราน อิเล็กสัน ได้เข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้จัดการทีมแทนสจ๊วต เพียซ์ และในวันที่ 15 ธันวาคม ซิตี้ได้ทำสถิติชนะในเกมการแข่งขันเก้าเกมทั่วอังกฤษในการเร่ิมต้นของฤดูกาล

 

ค.ศ. 2008 ( พ.ศ. 2551) อาบูดาบี ยูไนเต็ด กรุ๊ป (Abu Dhabi United Group) เป็นเจ้าของสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ คนใหม่ โดยมีมาร์ค ฮิวจ์ รับตำแหน่งผู้จัดการทีม ก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นผู้จัดการทีมให้กับเวลส์, บาร์เซโลน่า, บาเยิร์น มิวนิค และแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และทางสโมสรได้ซื้อตัวนักเตะ โรบินโฮจากริอัล แมดริด ด้วยค่าตัวที่สูงสุดเป็๋นอันดับสองในสถิติอังกฤษ ด้วยยอดเงิน 32.5 ล้านปอนด์ 

 

ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) โรแบร์โต้ มันชินี่ อดีตผู้จัดการทีมอินเตอร์ มิลานได้เข้ามาเป็นกุนซือคุมทัพซิตี้แทนที่มาร์ค ฮิจว์ ในเดือนธันวาคม 

 

ค.ศ.2010 (พ.ศ. 2553) เรือใบสีฟ้าได้ลงเล่นอย่างสุดมันในสนามพรีเมียร์ ลีก และได้เข้ารอบเป็นอันดับที่ 5 ในการเข้าสู่ยูโรปา ลีก รวมทั้งยังได้เข้ารอบรองชนะเลิศในลีก คัพ ด้วย 

 

ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) การรอคอยที่ยาวนานได้จบลงเมื่อทัพเรือใบสีห้าได้คว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ไปด้วยสกอร์ 1-0 และได้เข้ารอบไปเล่นในแชมป์เปี้ยน ลีกในฤดูกาล 2555/56 เป็นครั้งแรก! 

 

ค.ศ. 2012 ซิตี้ชนะชัยในแชมป์เปี้ยน ลีก เป็นครั้งแรกในรอบ 44 ปี ตามด้วยการคว้าแชมป์พรีเมียร์ ลีก โดยประตูชัยที่เซอร์จิโอ้ อากูเอโร่ ที่ปราบควีนส์ ปาร์ค แรนเจอร์ และทำให้ได้คว้าถ้วยรางวัลสุดยอดนี้ไปครองที่เอทิฮัด สเตเดี้ยม 

 

 

ช่วงทศวรรษ 1990

ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2535) มีการจัดตั้งเอฟเอ พรีเมียร์ ลีก โดยซิตี้และควีนส์ พาร์ค เรนเจอร์เป็นสองทีมแรกที่ได้ลงแข่งในลีกนี้ ในค่ำวันจันทร์ 

 

ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) อำลาอาลัยอัฒจรรย์คิพแพกซ์ ซึ่งเคยเป็นที่นั่งชมศึกพรีเมียร์ ลีก ในยุคนี้ คิพแพกซ์เ้ป็นอัฒจรรย์ยืนที่ใหญ่สุดในประเทศ 

 

ค.ศ. 1995/96 (พ.ศ.2548/49) ฤดูกาลแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ซิตี้เปลี่ยนผู้จัดการทีมถึงสามครั้ง ดังนี้ อลัน บอลล์, สตรีฟ คอปเบลล์ และแฟรงค์ คล๊าก นอกจากนี้ อะซา ฮาร์ตฟอร์ด และฟิล นีล ได้รับตำแหน่งรักษาการด้วย 

 

ค.ศ.1997 (พ.ศ.2550) เปิดตัวโลโก้ใหม่ โดยมีมอตโต้เป็นภาษาละตินว่า “Superbia in proelio” แปลว่า  จงหยัดยืนในสนามรบอย่างภาคภูมิ 

 

ค.ศ.1990 (2553) หนึ่งในสุดยอดเกมในสนามเวมบลีย์ โดยซิตี้ได้เลื่อนอันดับหลังจากยิงจุดโทษมีชัยต่อจิลิงแฮมในดิวิชั่นสอง ในช่วงยืดเวลาการแข่งขัน

 

 

ยุคค.ศ. 1980

ค.ศ. 1981 (พ.ศ.2524) ซิตี้ได้เข้ารับสุดท้ายในศึกเอฟ เอคัพ ครั้งที่ 100 ปะทะกับสเปอร์ส์ เสมอกัน 1-1  ทำให้ต้องฟาดแข้งอีกครั้งในสนามเวมบลีย์ ถือเป็นหนึ่งในนัดสำคัญในการชิงชัยความเป็นหนึ่งในเอฟเอ คัพ แม้ซิตี้จะพ่ายไป 3-2 โดยริคกี้ วิลลาเป็นผู้ทำประตูชัยให้สเปอร์ส์ แต่สำหรับแฟนบอลชาวเรือใบสีฟ้าได้ลงมติว่าการยิงประตูในระยะ 30 หลาของสตีฟ แมคเคนซี่ เป็นการยิงประตูที่เหนือกว่าคู่ตรงข้าม 

 

ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) ซิตี้ได้เล่นเป็นทีมแรกในคัพ ไฟนอลที่สนามเวมบลีย์ต่อหน้าผู้ชม 68,000 ราย 

 

ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) สโมสรได้ทำสถิติถล่มฮัดเดอร์ฟิลด์ ทาวน์ 10-1 ที่สนามเมน โร้ด 

 

ค.ศ. 1989 (2532) ซิตี้ได้รับการเลื่อนอันดับในเกมการแข่งขันที่ดุเดือนในสนามแบรดฟอร์ด ซึ่งเอาชนะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สโมสรเพื่อนบ้านไป 5-1

 

 

ช่วงทศวรรษ 1970

ค.ศ.1970 (พ.ศ. 2513) ซิตี้ครองแชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ และลีก คัพ เป็นปีแห่งความสำเร็จที่ได้คว้าถ้วยรางวัลทั้งในประเทศและของยุโรป 

 

ค.ศ.1972 (พ.ศ.2515) โลโก้ของซิตี้ได้แทนที่ด้วยกุหลาบแดงของมณฑลแลงคาไชร์

 

ค.ศ.1974 (พ.ศ. 2517) ซิตี้พ่ายต่อวูล์ฟแฮมป์ตันในศึกลีก คัพนัดชิงชนะเลิศ 

 

ค.ศ.1976 (พ.ศ.2519) เรือใบสีฟ้ากำราบนิวแคสเซิล ยูไนเต็ดด้วยสกอร์ 2-1 ที่สนามเวมบลีย์ โดยปีเตอร์ บาร์นส์ หวดลูกเข้าประตูได้สำเร็จ แล้วยังได้ประตูจากเดนนิส ทเวิร์ตที่ทำจักรยานอากาศอย่างสวยงาม 

 

ค.ศ.1979 (พ.ศ.2521) สโมสรได้ทำลายสถิติใหม่ด้วยการทำเซ็นสัญญากับสตีฟ ดาเลย์ในราคา 1,450,277 ปอนด์ ภายในสองปี เรือใบสีฟ้ากลายเป็นสโมสรชั้นนำที่เซ็นสัญญารายบุคคลแก่นักเตะสามคนๆ ละ 1 ล้านปอนด์ (อีกสองคนคือ เควิน รีฟส์ และเทรวอร์ ฟรานซิส) 

 

 

ช่วงทศวรรษ 1960

ค.ศ. 1965 (พ.ศ. 2508) โลโกสโมสรปรับเปลี่ยนในปีนี้ โดยนำตราประจำเมืองแมนเชสเตอร์ใช้

 

ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) ซิตี้ได้เล่ือนชั้นไปเล่นในดิวิชั่นสอง ภายใต้การกุมบังเหียนของโจ เมอร์เซอร์และมัลคอาม อะลิซัน

 

ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) เรือใบสีฟ้าได้กำราบนิวแคสเซิล ยูไนเต็ดในเกมการแข่งขันวันสุดท้ายของฤดูกาล ทำให้กลายเป็นแชมป์เปี้ยนลีกเป็นสมัยที่สอง

 

ค.ศ. 1969 (พ.ศ.2512) แมนเชสเตอร์ ซิตี้ได้ปราบเลสเตอร์ ซิตี้ด้วยสกอร์ 1-0 ที่สนามเวมบลีย์ เพื่อเข้าไปชิงชัยในศึกเอฟเอ คัพ

 

 

ช่วงทศวรรษ 1950

ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) ซิตี้พ่ายแพ้แก่นิวแคลเซิลในศึกเอฟเอ คัพ รอบชิงชนะเลิศที่สนามเวมบลีย์ 

 

ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ทัพเรือใบสีฟ้่าได้เข้าไปดวลแข้งในศึกเอฟเอ คัพ รอบชิงเป็นครั้งที่สอง และได้คว้าแชมป์ด้วยการปราบเบอร์มิงแฮมไปด้วยสกอร์ 3-1 ซึ่งพาเหรดคืนสู่เหย้าได้ถูกถ่ายทอดสดไปทั่วด้วยโทรทัศน์ แกรนาดา 

 

 

ช่วงทศวรรษ 1945-1950

ค.ศ. 1947 (พ.ศ.2490) ซิตี้ได้รับเป็นแชมป์ในดิวิชั่นสอง 

 

ค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) เปิดให้แฟนคลับได้จดทะเบียนกับสโมสรอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ Mcfc Supporters Club 

 

 

ช่วงทศวรรษ 1939-1945 สงครามโลกครั้งที่สอง

ซิตี้ได้ฟาดแข้งในดิวิชั่นนอร์ธเทิร์น เป็นเกมการแข่งขันในลีกช่วงสงคราม (Wartime League) สนามโอลด์ แทรฟฟอร์ดได้ถูกทำลายลง เป็นผลให้แมนฯ ยูไนเต็ดต้องไปเล่นเกมเหย้าที่สนามเมน โร้ด แทน อย่างไรก็ตาม แมนฯ ซิตี้ก็ไม่อนุญาตให้แมนฯ ยูไนเต็ดได้ใช้ห้องเปลี่ยนเสื้อในสนาม ในแมตช์ที่ต้องสองทีมเพื่อนบ้านปะทะกัน

 

 

ช่วงทศวรรษ 1930

ค.ศ.1934 (พ.ศ. 2477) หลังจากเสียตำแหน่งไปเมื่อปีที่แล้ว ซิตี้ได้กำราบพอร์ตเมาธ์ไปได้ 2-1 และครองแชมป์เอฟเอ คัพ

 

ค.ศ.1934 (พ.ศ. 2477) ยอดผู้ชมจำนวน 84,569 คนในสนามเมน โร้ด ถือเป็นสถิติใหม่ของเมืองในนัดที่ซิตี้ดวลแข้งกับสโต๊ค ซิตี้

 

ค.ศ.1937 (พ.ศ. 2450) ���มนเชสเตอร์ ซิตี้ คว้าถ้วยแชมป์เปี้ยน ชิพเป็นครั้งแรก

 

 

ช่วงทศวรรษ 1920

ค.ศ.1920 (พ.ศ. 2463) สนามซิตี้ ไฮ โร้ด กลายเป็นสนามฟุตบอลแห่งแรกของเมืองแมนเชสเตอร์ที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ มาเยือน

 

ค.ศ. 1923 (พ.ศ. 2466) หลังจากที่สนามไฮ โร้ดถูกเพลิงไหม้ สโมสรต้องย้ายพนักงาน 85,000 ไปยังสนามเมน โร้ด ที่จุผู้ชมได้มากถึง 85,000 ที่นั่งค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) ปีแห่งความวุ่นวายของเรือใบสีฟ้า เนื่องจากเป็นปีที่ไม่มีผู้จัดการทีม แต่ทีมก็ยังแสดงฝีไม้ลายมือจนกลายเป็นทีมจากเมืองแมนเชสเตอร์ทีมแรกที่ได้เข้าไปเล่นที่สนามเวมบลีย์ ในศึกเอฟเอ คัพ แล้วยังได้ทำสถิติการทำประตูในศึกแมนเชสเตอร์ดาร์บี ยิงประตู 6-1 ที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ด แม้ว่าจะต้องถูกลดชั้นในฤดูกาลเดียวกันนั่นเอง

 

ค.ศ. 1928 (พ.ศ. 2471) ซิตี้ได้แชมป์ดิวิชั่นสอง 

 

 

ช่วงทศวรรษ 1914-1918 สงครามโลกครั้งที่ 1

เกมการแข่งขันถูกระงับตั้งแต่ปีค.ศ. 1915-1919 (พ.ศ. 2458-2462) แต่ทัวร์นาเมนต์ในส่วนภูมิภาคยังดำเนินการอยู่ โดยซิตี้ได้ไปเล่นในดิวิชั่นแลงคาไชร์

ช่วงทศวรรษ 1875-1910

ค.ศ.1880 (พ.ศ. 2423) โบสต์เซนต์ มาร์กได้ก่อตั้งทีมฟุตบอลที่ต่อนมาในภายหลังได้รับชื่อว่า MCFC

 

 

แชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ 

ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) 

 

แชมป์เปี้ยนลีก 

ค.ศ.1936-37 (พ.ศ.2479-2480), 1967-68 (2510-2511), 2011-12 (2554-2555)  ฟุตบอลลีก รันเนอร์-อัพ ค.ศ.1903-04 (พ.ศ. 2447-2448), 1902-21 ( 2445-46), 1976-77 (2519-2520) 

 

แชมป์ดิวิชั่นหนึ่ง 

ค.ศ.2001-02 (พ.ศ. 2544-55) 

 

ดิวิชั่นวัน รันเนอร์-อัพ 

ค.ศ.1999-2000 (พ.ศ.2542-2543) 

 

แชมป์ดิวิชั่นสอง (ดั้งเดิม) 

ค.ศ.1896-99 (พ.ศ. 2412-2442), 1902-03 (2445-46) , 1909-10 (2452-53), 1927-28 (2470-71), 1946-47 (2489-90), 1965-66 (2508-09) 

 

ดิวิชั่นสอง รันเนอร์-อัพ (ดั้งเดิม)

ค.ศ. 1895-96 (พ.ศ. 2438-39) , 1950-51 (2493-2495), 1988-89 (2531-32) 

 

แชมป์ดิวิชั่นสอง เพลย์ ออฟ์ 

ค.ศ. 1998-99 (พ.ศ. 2541-42)

 

แชมป์เอฟเอ คัพ

ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) , 1934 (2477), 1956 (2499), 1969 (2512), 2011 (2554)

 

เอฟเอ คัพ รันเนอร์-อัพ 

ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469), 1933 (2476), 1955 (2498), 1981 (2524)

 

แชมป์ลีก คัพ 

ค.ศ. 1970 (พ.ศ.2513), 1976 (2519)

 

ลีก คัพ รันเนอร์-อัพ 

ค.ศ. 1974 (พ.ศ.2517)

 

แชมป์ FA Community/Charity Shield 

ค.ศ. 1937-38 (พ.ศ. 2516-17), 1968-69 (2511-12), 1972-73 (2515-16), 2012-13 (2555-56)

 

Full Members Cup Runners-up

ค.ศ. 1986 (พ.ศ.2529)

 

แชมป์เอฟเอ คัพ รุ่นเยาวชน 

ค.ศ. 1986 (พ.ศ.2529), 2008 (2551)

 

แชมป์เปี้ยน ลีก ทีมสำรอง 

ค.ศ. 1977-78 (พ.ศ.2520-21), 1986-87 (2529-30), 1999-2000 (2542-43)

 

จำนวนประตูที่ยิงได้มากสุด

ในฤดูกาล108 ประตูในดิวิชั่นสอง

ค.ศ.1926-27 (พ.ศ.2469-70) จาก 42 เกมการแข่งขัน  และดิวิชั่นหนึ่ง ค.ศ.2001-02 (พ.ศ.2544-45) จาก 46 เกมการแข่งขัน

 

ผู้เล่นที่ยิงประตูลีกได้มากสุด

ในหนึ่งฤดูกาล 38 ประตูโดยทอมมี่ จอห์นสัน ในดิวิชั่นหนึ่ง ค.ศ. 1928-29 (พ.ศ.2471-72) 

 

แต้มที่ได้มากสุด

(ทีมที่ชนะได้ 2 แต้ม)62 แต้มในดิวิชั่นหนึ่ง ค.ศ. 1946-47 (พ.ศ.2489-90)

 

แต้มที่ได้มากสุด

(ทีมที่ชนะได้ 3 แต้ม)99 แต้มในดิวิชั่นหนึ่ง ค.ศ.2001-02 (พ.ศ.2544-55) 

 

นักเตะที่ได้ร่วมทีมชาติมากครั้งที่สุดโคลิน เบลล์ (อังกฤษ) 48 ครั้ง

 ที่มา http://mcfc.co.th

Views: 385

Comment

You need to be a member of Manchester City Fan Club in Thailand Website to add comments!

Join Manchester City Fan Club in Thailand Website

© 2024   Created by thaiMCFC.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service

Text Link Ads script error: local_200939.xml is not writable. Please set write permissions on local_200939.xml.