Members

1ใน5องค์ที่4พระเบญจภาคี "สมเด็จนางพญา วัดนางพญา"


ประวัติการสร้างพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก

ในปี พ.ศ.๒๐๙๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ กองทัพพม่าซึ่งมีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ขยายอาณาเขตเข้าตีเมืองมอญ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับแดนไทย ไว้เป็นที่มั่น แล้วสั่งเกณฑ์กองทัพมาตั้งประชุมพลที่เมืองเมาะตะมะ พระเจ้าหงสาวดีได้เสด็จเป็นจอมทัพยกเข้ามารุกรานเมืองไทย หมายเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้น
ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อ ทราบข่าวว่ากองทัพพระเจ้าหงสาวดียกเข้ามาประชิดกรุง เสด็จยกกองทัพหลวงออกไปหวังจะลองกำลังข้าศึกดูว่าจะหนักเบาเพียงใด โดยทรงพระคชาธาร สมเด็จพระสุริโยทัย พระอัครมเหสี ได้แต่งองค์เป็นชายอย่างพระมหาอุปราช ทรงคชาสาร ตามเสด็จไปด้วยพระราเมศวรและพระมหินทร์ ราชโอรสทั้งสอง

กองทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิออกไปปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพระเจ้าหงสาวดี ไพร่พลของทั้งสองกองทัพเข้ารบพุ่งกันเป็นสามารถ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าแปรต่างทรงช้างขับไพร่พล หนุนมาพบกันเข้าก็ชนช้างกันตามแบบการยุทธในสมัยนั้น ช้างพระที่นั่งสมเด็จพะมหาจักรพรรดิเสียทีแล่นหนีช้างข้าศึกเอาไว้ไม่อยู่ พระเจ้าแปรขับช้างไล่มา สมเด็จพระสุริโยทัยเกรงพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จึงขับช้างทรงเข้าขวางทางข้าศึกเอาไว้ พระแปรได้ทีฟันสมเด็จพระสุริโยทัย ด้วยสำคัญว่าเป็นชาย สิ้นพระชนซบลงกับคอช้าง พอพระราเมศวรกับพระมหินทร์ทั้งสองพระองค์ขับช้างทรงเข้าต่อสู้ พระเจ้าแปรก็ถอย จึงกันเอาพระศพสมเด็จพระชนนีกลับ

การรบพุ่งในวันนั้นเป็นอันยุติไม่รู้แพ้รู้ชนะกัน แม้ว่าสมเด็จพระสุริโยทัยจักสิ้นพระชนม์ พระศพสมเด็จพระสุริโยทัยได้อันเชิญไปประดิษฐานไว้ที่สวนหลวง ตรงที่สร้างวังหลังต่อมาได้สร้างพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสุริโย ทัยที่ในสนามหลวง ตรงกับวัดเขตวัดสบสวรรค์และได้สร้างพระอารามขึ้นตรงกับพระเมรุกับได้สร้าง พระมหาเจดีย์เป็นอนุสรณ์ถึงวีรกรรมของพระองค์ท่านผู้มีทั้งพระทัยกล้าหาญ มั่นคงเด็ดเดี่ยว ให้อนุชนรุ่นหลังได้จดจำสืบกันต่อมา

การศึกในครั้งนั้น กองทัพของพระเจ้าหงสาวดี แม้จะมีรี้พลมากกว่าก็ไม่สามารถที่รบพุ่งหักหาญให้กรุงศรีอยุธยาแตกหักลงได้ เพียงแต่ล้อมเมืองเอาไว้เฉยๆ อยู่ไปนานเข้าเสบียงอาหารร่อยหรอลง รี้พลก็ระส่ำระส่าย ประกอบกับขณะนั้นกำลังรบทางหัวเมืองฝ่ายเหนืออันเป็นมณฑลราชธานีครั้งสมเด็จ พระร่วงเจ้า ยังมีกำลังมาก อีกทั้งพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นอุปราชครองหัวเมืองเหนือทั้งปวงอยู่ที่เมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้มีใบบอกให้ยกกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือ ลงมาช่วยตีกระหนาบ ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีพอได้ข่าวกองทัพไทยในฝ่ายเหนือลงมาก็ตกพระทัย

ยกทัพกลับไปทางด้านเจดีย์สามองค์ ปี พ.ศ. ๒๑๐๖ พระมหาธรรมราชาผู้ครองเมืองพิษณุโลก ได้อภิเษกเป็นพระศรีสรรเพชญ หรือเจ้าฟ้าสองแคว ทรงอภิเษกสมรสกับพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กับสมเด็จพระสุริโยทัย ผู้ซึ้งมีเลือดเนื้อเชื้อไขเป็นนักรบอย่างแท้จริง ยอดวีรกษัตรีนั่นเอง มีพระราชโอรส๒องค์ คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้กอบกู้ชาติให้หลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น กับสมเด็จพระเอกาทศรถ และพระธิดา๑องค์ คือ พระสุพรรณกัลยา

พระมหาธรรมราชาทรงครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองพิษณุโลกสืบต่อมาเป็น เวลานาน พระองค์ทรงทะนุบำรุงเมือง ตลอดจนพระศาสนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า วัดใหญ่ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช เป็นพุทธสถานที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นวัดที่พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจตลอดมา คงจะเป็นเช่นเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบันนี้

พระนางพญา

พระนางพญา หรือ พระพิมพ์นางพญา ซึ่งนิยมกันว่าเป็น ราชินีแห่งพระเครื่อง เป็นพระเครื่องที่พบอยู่ในพระเจดีย์ และบริเวณวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้างไว้ ในแผ่นจาลึกลานทองของพระครูอนุโยค วัดราชบูรณะ มีผู้คัดลอกกันไว้ว่า พระนางพญาสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา

จากการพิจารณาเนื้อดินและพุทธศิลปะของพระนางพญาแล้ว มีความเก่าถึงช่วงต้น ๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เฉพาะพิมพ์เข่าโค้งช่างในสมัยอยุธยาได้สร้างขึ้นเลียนแบบศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งเห็นได้อย่างเด่นชัด นอกจากพิมพ์นี้พิมพ์เข่าตรงยังมีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะสมัยพระเจ้าอู่ทอง ๒ จากภูมิสถานของวัดนางพญาก็อยู่ในสกุลช่างเดียวกัน

เมื่อพิจารณาถึงกษัตริย์ทุกพระองค์ที่เคยครองเมืองพิษณุโลกแล้วพระบาท สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองเมืองพิษณุโลกนานที่สุด ในสมัยกรุงศรีอยุธยานับเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลก นาถ เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ มีความพรั่งพร้อมทั้งกำลังพลและกำลังทางเศรษฐกิจ

พระนางพญาคงสร้างขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๐๐๗-๒๐๒๕ ในคราวเดียวกันกับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อสร้างพระปรางค์แบบต้นสมัยอยุธยาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกและได้บูรณะพระสถูปเจดีย์ใหญ่ ฐานคล้ายเจดีย์มอญ ที่วัดราชบูรณะ ซึ่งพระสถูปเจดีย์องค์นี้ยังเป็นสง่า อยู่ริมฝั่งลำน้ำน่านจนบัดนี้

พระนางพญา เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุดในบรรดาพระเนื้อดินชุดเบญจภาคี มีเนื้อสีอิฐแดงเหลือง เนื้อเขียว  เนื้อดำ จุดเด่นของเนื้อพระนางพญา คือ มวลดินประเภทเม็ดทรายที่แทรกปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมากเรียกกันว่าเม็ดแร่ ขนาดสัณฐานของเม็ดทรายจะต้องใกล้เคียงกันทั่วองค์พระ เพราะเป็นเนื้อที่ผ่านการกรองมาแล้ว

พิมพ์และตำหนิเอกลักษณ์

พระนางพญา มี ๗ พิมพ์ ด้วยกัน คือ 
          ๑. พิมพ์เข่าโค้ง
          ๒. พิมพ์เข่าตรง
          ๓. พิมพ์เข่าตรง ( มือตกเข่า)
          ๔. พิมพ์อกนูนใหญ่
          ๕. พิมพ์สังฆาฏิ
          ๖. พิมพ์อกนูนเล็ก
          ๗. พิมพ์อกแฟบ ( พิมพ์เทวดา)

ตำหนิเอกลักษณ์

          ๑. พระเกศเหมือนปลีกล้วย
          ๒. ปรากฏกระจังหน้าชัดเจน
          ๓. หน้าผากด้านขวาขององค์พระจะยุบหรือบุบน้อยกว่าหน้าผากด้านซ้ายขององค์พระ
          ๔. ปลายหูด้านซ้ายมือขององค์พระ จะติดเชื่อมกับสังฆาฎิ
          ๕. ปลายหูด้านขวามือขององค์พระ จะแตกเป็นหางแซงแซว
          ๖. เส้นอังสะจะช้อนเข้าใต้รักแร้
          ๗. จะมีเม็ดผดขึ้นอยู่ระหว่างเส้นอังสะกับเส้นสังฆาฎิ
          ๘. ท้องขององค์พระจะมีกล้ามเนื้อเป็น ๓ ลอน
          ๙. ปลายมือพระหัตถ์ข้างซ้ายขององค์พระจะแหลมแตกเป็นหางแซงแซว
          ๑๐. พระหัตถ์ที่วางบนเข่า จะไม่มีนิ้วมือยื่นเลยลงมาให้เห็น



 



พระ นางพญาพิษณุโลก จัดว่าเป็นพระเนื้อดินที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นพระชั้นนำที่สุดของเมืองพิษณุโลกและถูกจัดให้เป็นพระในชุด “เบญจภาคี” ที่ถือว่าสุดยอดของประเทศไทยอีกด้วย

พระนางพญากำเนิดที่ “วัดนางพญา” พิษณุโลกความจริงวัดนางพญาก็เป็นวัดเดียวกับ “วัดราชบูรณะ ต่อมาภายหลังได้สร้างถนนผ่ากลางเลยกลางเป็น 2 วัด การได้ชื่อว่า “วัดนางพญา” ก็เพราะได้พบพระนางพญานั่นเอง

ตามการสันนิฐาน พระนางพญานั้นเป็นผู้ที่สร้างคือ “พระวิษุสุทธิกษัตรี” มเหสีของ “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” ผู้ที่ได้สร้างหรือปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นบริเวณที่พบพระนางพญานั่นเอง เข้าใจว่าการสร้างพระนางพญานั้นประมาณปี พ.ศ. 2090 – 2100 หรือประมาณสี่ร้อยกว่าปี

พระนางพญา เป็นพระรูปทรงสามเหลี่ยมทุกพิมพ์นั่งมารวิชัยไม่ประทับบนอาสนะหรือมีฐานรอง รับ รูปทรงงดงามแทบทุกพิมพ์โดยเฉพาะจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอด อ่อนช้อยคล้ายกับ “ผู้หญิง” จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระพิมพ์ “นางพญา” อีกประการหนึ่งก็คือผู้ที่สร้างก็คือ “พระวิสุทธิกษัตรี” นั่นเอง

พระนางพญาถูกค้นพบเมื่อประมาณ พ.ศ. 2444 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จะเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทางจังหวัดจึงเตรียมการรับเสด็จที่วัดนางพญา โดยจัดการสร้างปะรำพิธีรับเสด็จ      เมื่อคนงานขุดหลุมก็เกิดพบพระจำนานมาก ก็คือพระนางพญานั่นเอง ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสก็เก็บพระเหล่านั้นไว้ พอสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จ ทางเจ้าอาวาสและทางจังหวัดก็ได้นำพระขึ้นทูลเกล้าฯ สมเด็จพุทธเจ้าหลวงก็ได้ทรงแจกจ่ายให้แก่ราชบริพารที่ตามเสด็จถ้วนหน้า ส่วนที่เหลือก็นำกลับกรุงเทพฯ

พระนางพญาถูกค้นพบต่อมาอีกหลายกรุ แต่ก็เป็นพระพิมพ์เดียวกันกับพระที่พบที่วัดนางพญาทุกอย่าง และเนื้อพระก็เนื้อเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงภูมิประเทศที่ค้นพบ เช่น พบที่บ้าน “ตาปาน” บริเวณนี้น้ำท่วมประจำ พระเสียผิวมีเม็ดแร่ลอยมาก จึงเรียกว่า “กรุน้ำ” ในปี พ.ศ. 2479 มีผู้พบพระนางพญา ที่วัด “อินทรวิหาร” บรรจุอยู่ในบาตรที่เจดีย์องค์เล็ก

ต่อมามีผู้ค้นพบพระนางพญาที่วัดเลียบ (ราชบูรณะ) ในกรุงเทพฯ พบที่ “พระราชวังบวรมงคล” (วังหน้า) พบที่ “วัดสังขจาย” ฝั่งธนบุรี ครั้งสุดท้ายพบที่ “วัดราชบูรณะ” จังหวัดพิษณุโลกอีกครั้ง เมื่อมีการทำท่อระบายน้ำในบริเวณวัดในประมาณปี พ.ศ. 2532 พระนางพญา เป็นพระที่สร้างจากเนื้อดิน ผสมว่าน เกสรดอกไม้ 108 ตลอดจนแร่กรวดทรายต่าง ๆ แล้วนำไปเผา

พระส่วนใหญ่จะมีเนื้อหยาบ ที่ละเอียดอ่อนจะมีน้อยกว่ามาก มีทั้งหมด 7 พิมพ์ด้วยกัน คือ

1. พิมพ์เข่าโค้ง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่พิมพ์หนึ่ง
2. พิมพ์เข่าตรง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่ โดยเฉพาะพิมพ์เข่าตรง แยกออกเป็น 2 พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์เข่าตรง “ธรรมดา” กับพิมพ์เข่าตรง “มือตกเข่า” แต่ทั้งสองพิมพ์ก็ถือว่าอยู่ในความนิยมเหมือนกันทั้งคู่
3. พิมพ์อกนูนใหญ่ ถือเป็นพิมพ์ใหญ่
4. พิมพ์สังฆาฏิ ถือเป็นพิมพ์กลาง
5. พิมพ์อกแฟบ (หรือพิมพ์เทวดา) ถือเป็นพิมพ์เล็ก)
6. พิมพ์อกนูนเล็ก ถือเป็นพิมพ์เล็ก
7.พิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เข่าบ่วง หรือพิมพ์ใหญ่พิเศษ          

พระนางพญาไม่ว่าพิมพ์ไหน ลักษณะของเนื้อจะเหมือนกันหมด ผิดกันแต่พิมพ์ทรงเท่านั้น ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดเป็นเลิศ สมกับเป็นหนึ่งในห้าชุดของชุดเบญจภาคีนั้นเอง

Views: 29074

Reply to This

Replies to This Discussion

ง่า...เขามาอ่านตั้งนานนึกว่า....เป็นแหล่งท่องเที่ยว...โฮ่ะๆ
ขอบคุณอีกครั้งสำหรับความรู้......ขอบคุณค่ะ

RSS

© 2024   Created by thaiMCFC.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service

Text Link Ads script error: local_200939.xml is not writable. Please set write permissions on local_200939.xml.